การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

บัณฑิต วิเวกวรรณ์
สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและ ความผูกพันต่อองค์การ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ และ 3) เพื่อศึกษาและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 7 แห่ง จำนวน 334 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารเทศบาล พนักงานเทศบาล และพนักงานจ้าง จำนวน 21 คน โดยใช้วิธีการเลือกโดยแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียรสัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการนำเข้าและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) บุคลากรเทศบาลมีการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง 2) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การด้านความยุติธรรม ด้านการสนับสนุนจากหัวหน้างาน และด้านรางวัลและสภาพการทำงานสามารถร่วมพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 38.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่พยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การได้ดีที่สุด คือ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การด้านความยุติธรรม 3) แนวทางการเสริมสร้างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ เทศบาลควรจัดให้มีการประชุมประจำเดือนเป็นประจำ ให้มีการประชาสัมพันธ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ โดยการประชาสัมพันธ์ตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคารสำนักงาน นอกจากนี้ การปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานของผู้บริหารและผู้บังคับบัญชาจะต้องยึด กฎ ระเบียบเป็นสำคัญ มีการส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันของบุคลากร มีการปรับปรุงอาคารสำนักงานให้มีความกว้างขึ้น สำหรับแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ เทศบาลควรสร้างทัศคติหรืออุดมการณ์ร่วมกันทั้งองค์การ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงาน การจัดให้มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับผู้บริหาร และควรขอรับการประเมินเพื่อกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปี (โบนัส) แก่บุคลากรเทศบาล

Article Details

How to Cite
วิเวกวรรณ์ บ. ., & อมรสิริพงศ์ ส. . (2021). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. Journal of Politics and Governance, 11(2), 185–202. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/254558
บท
บทความวิจัย

References

กัณฐิกา สุระโคตร. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูโรงเรียนขนาดกลางในอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต1. (งานนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ชวิศา กาญจนรัตน์. (2558). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจภายในที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ชิดกลม แตงอ่อน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาลวิภาวดีกับการแสดงพฤติกรรมด้านสมรรถนะหลัก. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี.
ดุจฤทัย โพยนอก. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาคามความเห็นของครูกลุ่มโรงเรียนบ่อทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2. (งานนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
เปรมจิตร คล้ายเพ็ชร์. (2548). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การ และความตั้งใจลาออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประสบชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ท้อป.
พยอม วงศ์สารศรี. (2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุภา.
มุฑิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ผ่านความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ยุพา กิจส่งเสริมกุล. (2561). ความผูกพันต่อองค์การของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 321-337.
ระวินทร์ตรา ตันจริยานนท์. (2561). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองตำลึง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 2(1), 1-10.
วาสนา เภอแสละ, ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ และสุรี พฤกษ์ทวีศักดิ์. (2561). การทำงานเป็นทีมที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารสิทยาบริหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(3), 132-142.
วิไลลักษณ์ กุศล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.
วิวรรธณี วงศาชโย. (2558). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกผ่านความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ ของพนักงานจ้างเทศบาลนครนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ศราวุธ โภชนะสมบัติ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์. งานวิจัยส่วนบุคคล
ศิริชัย แสงมณีจินดา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบังคับบัญชากับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(16), 101-109.
สถาบันพระปกเกล้า. (2561). Decentralization Report 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันประปกเกล้า.
สาริณี ช้างเจริญ. (2557). การรับรู้ข้อมูลจากสื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ของประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองชลบุรี. (งานนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี.
สิรินาถ ตามวงษ์วาน. (2555). อิทธิพลพลังขับเคลื่อนในการทำงาน การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและความผูกพันที่มีต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สุเชาวน์ เครือแก้ว. (2559). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความผูกพันต่อองค์กร ความเกี่ยวพันในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทผลิตและจำหน่ายน้ำดื่มแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุรพงษ์ มาลี. (2554). บทวิเคราะห์ประกอบการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ..... . กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สุพัตรา ชูลิกรณ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา พนักงานธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.