พัฒนาการนโยบายผู้สูงอายุไทย: การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของนโยบาย

Main Article Content

สุธิดา แจ้งประจักษ์
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพัฒนาการของนโยบายผู้สูงอายุไทยในมิติกระบวนทัศน์ของนโยบาย โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ งานวิจัย เอกสารทางราชการและการสัมภาษณ์เชิงลึก สรุปได้ว่า พัฒนาการของนโยบายผู้สูงไทยแบ่งเป็น 3 ยุคได้แก่ 1) ยุคแห่งการสงเคราะห์ ก่อนพ.ศ. 2524 ตัวแสดงทางนโยบายมีระบบความเชื่อเกี่ยวกับผู้สูงอายุว่า ต้องได้รับการดูแลจากครอบครัว ถ้าไม่รับการดูแล รัฐต้องให้ความช่วยเหลือ ส่งผลให้กระบวนทัศน์หลักของนโยบาย คือ การสงเคราะห์ที่มุ่งให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะยากลำบาก 2) ยุคแห่งการสร้างสวัสดิการ พ.ศ.2525-2539 ตัวแสดงมีระบบความเชื่อเกี่ยวกับผู้สูงอายุว่า เป็นบุคคลที่มีคุณค่าสมควรได้รับสวัสดิการที่ดี ส่งผลให้กระบวนทัศน์หลักของนโยบาย คือ การจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) ยุคแห่งการคุ้มครองสิทธิ พ.ศ. 2540-2561 ตัวแสดงมีความเชื่อเกี่ยวกับผู้สูงอายุหลากหลายทั้งผู้สูงอายุที่ไร้พลังและยังคงศักยภาพซึ่งทุกคนควรมีสิทธิในการรับบริการอย่างเท่าเทียมกัน ส่งผลให้กระบวนทัศน์หลักของนโยบาย คือ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ มุ่งเน้นการจัดบริการให้แก่ผู้สูงอายุทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของนโยบายผู้สูงอายุไทยมีลักษณะเพิ่มเติมและแทนที่ คือ ในยุคใหม่มีการเกิดขึ้นของกระบวนทัศน์ใหม่ และแทนที่กระบวนทัศน์เดิม ทำให้มีการเปลี่ยนสถานะจากกระบวนทัศน์หลักในยุคเดิมเป็นกระบวนทัศน์รองในยุคใหม่ ดังนั้นในปัจจุบันนโยบายผู้สูงอายุไทยจึงประกอบด้วยทั้งสามกระบวนทัศน์ ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายเลือกใช้นโยบายให้มีความสมดุลทั้งการสงเคราะห์ การจัดสวัสดิการและการคุ้มครองสิทธิ ตามสถานการณ์

Article Details

How to Cite
แจ้งประจักษ์ ส., & รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พ. . (2023). พัฒนาการนโยบายผู้สูงอายุไทย: การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของนโยบาย. Journal of Politics and Governance, 13(1), 46–62. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/253885
บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุธิดา แจ้งประจักษ์, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Thailand citation index center

References

คณะอนุกรรมการการศึกษาวิจัยและวางแผนระยะยาวเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. (2525). แผนระยะยาว

สำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2525 - 2544. กรุงเทพฯ.

ช.ชยินทร์ เพ็ชญไพศิษฏ์. (2543). แนวทางและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุใน

ประเทศไทย. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ชวกร ชมภูคำ. (2555). นโยบายสร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เชาวลักษ์ สุขกันหา. (2553). ปัญหาการนำนโยบายการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ ในองค์การบริหารส่วนตำบลศรีวิลัย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ณัฐภัทร ถวัลย์โพธิ์และคณะ. (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับ การจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุของไทยและต่างประเทศ เพื่อการปรับปรุงกฎหมายไทย. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ปิยากร หวังมหาพร. (2546). นโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พุทธศักราช 2484. (2484, 7 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 85 หน้า 1324.

พระราชบัญญัติเบี้ยบำนาญ รศ. 120. (2444, 15 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 18 แผนที่ 37 หน้า 701.

รัตนาภรณ์ ทรงกลด. (2554). การดำเนินงานตามนโยบายสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วันทนีย์ วาสิกะสิน, สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์, และกิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2553). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล. (2556). มโนทัศน์ใหม่ นิยามผู้สูงอายุและการขยายอายุเกษียณ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานการสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อภิญญา เวชยชัย. (2544). การศึกษาโครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชน “โครงการเบี้ยยังชีพ”. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

Baumgartner, Frank R., and Bryan D. Jones. (1993). Agendas and Instability in American Politics. Chicago: University of Chicago Press.

Hall, P. (1993). Policy Paradigms, Social Learning, and the State: The Case of Economic Policymaking in Britain. Comparative Politics, 25(2), 275–296.

Patton, M.Q. (2002). Qualitative Research and Evaluation Methods. Thousand Oaks, CA: Sage.

True, J.L., Jones, B.D., and Baumgartner, F.R. (2007). Punctuated Equilibrium Theory’ in (ed.) P. Sabatier. Theories of the Policy Process (2 nd Edition). Cambridge MA: Westview Press.