ความพร้อมและความต้องการจำเป็นของนิสิตระดับปริญญาตรี ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษภายใต้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

เกษราภรณ์ คลังแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพร้อมและความต้องการจำเป็นของนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษภายใต้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะการฟัง 2) ทักษะการพูด 3) ทักษะการอ่าน และ 4) ทักษะการเขียน จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าความต้องการจำเป็นตามสูตร Modified Priority Needs Index (PNI Modified ) ผลการวิจัย พบว่า การประเมินความพร้อม และความต้องการจำเป็นของนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษภายใต้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้ง 4 ด้าน นิสิตมีความพร้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 2.83, S.D. = 0.71) และนิสิตมีความต้องการจำเป็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.83, S.D. = 0.90) ผลการวิเคราะห์ภาพรวมในการจัดลำดับความสำคัญด้านความต้องการจำเป็น (PNI Modified = 0.35) โดยเรียงลำดับความสำคัญด้านความต้องการจำเป็น (PNI Modified ) จากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ทักษะการเขียน (PNI Modified = 0.45) ทักษะการอ่าน (PNI Modified = 0.38) ทักษะการพูด (PNI Modified = 0.32) และทักษะการฟัง (PNI Modified = 0.27) ตามลำดับข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 1) ศึกษาวิจัยในนิสิตที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว เพื่อเปรียบเทียบข้อมูล และนำมาปรับปรุงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในปัจจุบัน 2) ศึกษาวิจัยด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ และ 3) การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2541). ทักษะภาษานานาวิธี. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมอาเซียน. (2561). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/asean/th/ customize/30641-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.html
กองทะเบียนและประเมินผล. (2559). หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กองแผนงาน. (2560). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กิริฎา เภาพิจิตร. (2557). เศรษฐกิจไทยมองไปข้างหน้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconMakhongCanelArea/Cooperation/Documents/_Chiangmai%20U_Nov%2019%202014_Thai.pdf
กันยา สุวรรณแสง. (2538). จิตวิทยาทั่วไป General psychology. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิทยา.
ณตพล ศุภณัฐเศรษฐกุล. (2557). ความพร้อมและความต้องการจำเป็นของนักศึกษาแพทย์ ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการประกอบวิชาชีพแพทย์ ภายใต้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 14(3), กรกฎาคม-กันยายน.
ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และ ธัญภา ชิระมณี. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูด
ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 วันที่ 28 มีนาคม 2557.
บุญพา คำวิเศษณ์. (2558). การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฒนธรรมกลุ่มประเทศอาเซียนสำหรับมัคคุเทศก์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1) ,กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2558.
ปองศักดิ์ ศรีสืบ และปัญชลี วาสนสมสิทธิ์. (2553). การศึกษาความต้องการในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สามของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2(3), กันยายน – ธันวาคม 2553.
พรพิมล ริยา และธนางกูร ขำศรี. (2555). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย. รายงานวิจัย: มหาวิทยาลัยนอร์ท, เชียงใหม่.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อักษาเจริญทัศน์.
วิภาดา พูลศักดิ์วรสาร. 2560. การสำรวจความต้องการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาคริสตศาสนศาสตร์ในกรุงเทพ. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), พฤษภาคม – สิงหาคม 2560, 910 – 926.
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. (2560). แผนปฏิบัติงานวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ปีการศึกษา 2560. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สายสุนีย์ จันทร์พงษ์. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ. สืบค้นจาก http://swis.act.ac.th/html_edu/act/temp_emp_research/747.pdf
สุนิตย์ ยอดขันธ์. (2552). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอก. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สุภาวดี เจริญวานิช. (2556). ศึกษาวิกฤตการณ์การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษา ของนักศึกษาพยาบาลเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(7), (ฉบับพิเศษ).
สุวรรณี พันธุ์พรึกส์ และฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2550). การศึกษาความสามารถ ปัญหา และความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาในระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเหล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 17(3).
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธนู ศรีไสย. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
หนึ่งฤทัย พฤกษาศิลป์ (2548). การศึกษาความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของตำรวจท่องเที่ยว กองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว เขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
อดิศักดิ์ ย่อมเยา. (2560). ศึกษาปัญหาการใช้ทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดกลาง และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงราย. บทความวิจัย: สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 56-66.
Wassanasomsithi, P. (1998). E-mail in EFL Classrooms: Why and How. Nida Language Center Journal, 3, 41-53.