การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะมูลฝอย ในเขตบางพลัดจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตบางพลัด 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนในเขตบางพลัด ที่มีต่อประสิทธิภาพในการดำเนินการเพื่อการคัดแยกขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตบางพลัด และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตบางพลัด กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 400 คน ในชุมชนในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตบางพลัดในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับน้อย 2 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการร่วมปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติ ระดับน้อยที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาและการมีส่วนร่วมในการวางแผน 2) ระดับประสิทธิภาพในการดำเนินการเพื่อการคัดแยกขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตบางพลัดในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการขนส่งขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยและด้านการสนับสนุน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์อยู่ในระดับน้อย 3) การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการดำเนินการเพื่อการคัดแยกขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตบางพลัดในทุกด้าน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 จากผลการวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) เพื่อประกอบการพิจารณานโยบาย; มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ รวมถึงการคัดแยกขยะภายในสำนักงานเขตบางพลัดควรเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนด้วย (2) เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ; (ก) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่น ชุมชน ภาครัฐ และเอกชน (ข) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันวางแผนปฏิบัติการเพื่อให้เขตบางพลัดเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะ (ค) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันวางแผนดำเนินการ ตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพการคัดแยกขยะ (ง) ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการคัดแยกขยะสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยอาศัยวิธีการสื่อสารที่หลากหลาย (จ) สร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะเช่น การสร้างรายได้จากการคัดแยกขยะ (ฉ) สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์สำหรับคัดแยกขยะอย่างเพียงพอโดยส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการที่ดี
Article Details
References
จิดาภา นิสสัยสุข. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าร่วมประชาคมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (ปัญหาพิเศษ หลักสูตรปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 – 2562. สืบค้นจาก http://203.155.220.174/download/article/article_20190530171702.pdf
ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณ ในการปฏิรูป ระบบราชการ. (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
โยธิน แสวงดี. (2559). การวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative Research). สืบค้นจากhttps://www.spu.ac.th/research
ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ. (2541). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
มุกดา สุขสวัสดิ์. (2539). ใช้แล้วใช้อีกให้ คุ้มค่า. กสิกร. มกราคม – กุมภาพันธ์.
ลือชัย วงษทอง. (2555). ประสิทธิผลของการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าไปปฏิบัติ ในพื้นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตบางพลัด. แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก https://www.bangkok. go.th/bangphlat/sitemap
สำนักสิ่งแวดล้อม. สถิติปริมาณมูลฝอย. สืบค้นจาก https://www.bangkok.go.th/ environmentbma
Meter, V. D. S., & Horn, V. C. E. (1975). The policy implementation process: a conceptual framework. Administration and Society, 6(4), 445-488.
William Erwin. (1976). Participation Management : Concept Theory and Implementation. Atlanta G.: Georgia State University.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication