การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเตรียมพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา: การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา: การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ มีหน่วย ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระดับกลุ่ม/องค์กร เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์กลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ดังนี้ 1) บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ และนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 8 องค์กร 2) บุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และเจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน จำนวน 8 องค์กร และ 3) ตัวแทนชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และอาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน จำนวน 8 ชุมชน ในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และชุมชนในพื้นที่เดียวกัน วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ (descriptive analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1.การเตรียมพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา: การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) ประกอบด้วย 1) นโยบายและแผนดำเนินงาน โดยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) การแจ้งเตือนเฝ้าระวัง โดยการแจ้งเตือนข่าวสารเพื่อเฝ้าระวัง และการมีมาตรการเฝ้าระวังก่อนการระบาด 3) การสื่อสาร โดยการใช้สื่อบุคคล และการสื่อสารออนไลน์ 4) ฐานข้อมูล โดยการเตรียมความพร้อมของระบบฐานข้อมูล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล และ 5) การบริหารภาวะวิกฤต โดยการจัดทำแผนดำเนินงาน การประสานงาน และ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ 2.การพัฒนาศักยภาพ การเตรียมพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา: การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) ประกอบด้วย 1) การบริหารนโยบายอย่างเข้มงวด 2) การพัฒนาการวางแผน เพื่อความมีประสิทธิภาพ 3) การประเมินผลการบริหารจัดการ 4) การพัฒนาระบบการแจ้งเตือน เฝ้าระวัง 5) การพัฒนาระบบการสื่อสาร 6) การพัฒนาระบบฐานข้อมูล 7) การส่งเสริมการให้ความรู้ และ 8) ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ประสานงานระดับท้องถิ่น
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข . (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2557). หนังสือคำศัพท์ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นจาก https://www.disaster.go.th
พิมณทิพา มาลาหอม, พนมวรรณ์ สว่างแก้ว, และวิชิต พุ่มจันทร์ (2564). พลังชุมชนกับการเฝ้าระวังควบคุม และป้องกันการระบาดของโควิด–19 ในชุมชนชายแดนไทย – ลาว. Covid-19 โรคเปลี่ยนคนคนเปลี่ยนโลก’63 Series. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นจาก https://www.sac.or.th/main/th/article/detail/186
ราชกิจจานุเบกษา. (2550). พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550. ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550 (ราชกิจจานุเบกษา, 2550 เล่ม 124 ตอนที่ 52 ก หน้า 2). สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/098/T_0040.PDF
ศิรศักย เทพจิต. (2563). COVID-19 Pandemic: การตอบสนองเชิงนโยบายสาธารณะในการรับมือกับปัญหาพยศ. เศรษฐสาร. สืบค้นจาก http://www.setthasarn.econ.tu.ac.th/blog/detail/59/
สุทัศน์ โชตนะพันธ์. (2559). การป้องกันภาวะวิกฤติโรคระบาด. วารสารบำราศนราดูร, 10(3), 143-156. สืบค้นจาก http://bamras.ddc.moph.go.th/userfiles/icn.pdf
สุภาวดี พรหมบุตร, สินธุ์ สโรบล, บงกชมาศ เอกเอี่ยม, และปรารถนา ยศสุข. (2554). การกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ ในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เอกสารการประชุมวิชาการงานวิจัยระดับบัณฑฺิตศึกษา ครั้งที่ 12 จัดโดยบัณฑฺิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1397- 1403. สืบค้นจาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/54/grc12/files/hmp10.pdf
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2564). สืบค้นจาก http://www.nsc.go.th/?page_id=543
Baas, S., Ramasamy, S., Pryck, J. D., & Battista, F. (2008). Disaster risk management systems analysis. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations. Retrieved from http://www.fao.org/3/i0304e/i0304e.pdf
Bhagavathula, S. A., Aldhaleei, A. W., Rahmani, J., Mahabadi, A. M., & Bandar, K. D.(2020). Knowledge and Perceptions of COVID-19 Among Health Care Workers: Cross-Sectional Study. JMIR Public Health Surveill, 6(2), e19160. Retrieved from https://publichealth.jmir.org
Cheng. H., & HUANG. A. S. (2021). Proactive and blended approach for COVID-19 control in Taiwan. Biochemical and Biophysical Research Communications, 538, 238-243. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0006291X20320295
Coccolini, F., Perrone, G., Chiarugi, M. et al. (2020). Surgery in COVID-19 patients: operational directives. World Journal of Emergency Surgery, 15, 25(2020). Retrieved from https://doi.org/10.1186/s13017-020-00307-2
Dutta. A., & Fischer. H. W. (2021). The local governance of COVID-19: Disease preventionand social security in rural India. World Development, 138(105234). Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/ article/pii/S0305750X20303612
Mackworth -Young, Rudo Chingono, Constancia Mavodza, Grace McHugh, Mandikudza Tembo, Chido Dziva Chikwari, Helen A Weiss, Simbarashe Rusakaniko, Sithembile Ruzario, Sarah Bernaysh & Rashida A Ferrand. (2021). Community perspectives on the COVID-19 response, Zimbabwe. Bull World Health Organ, 99, 85–91. Retrieved from Community perspectives on the COVID-19 response, Zimbabwe http://dx.doi.org/ 10.2471/BLT.20.260224
Mei, C. (2020). Policy style, consistency and the effectiveness of the policy mix in China’s fight against COVID-19. Policy and Society, 39(3), 309-325. Retrieved from https://www.tandfonline.com/doi/full/ 10.1080/14494035.2020.1787627
Reddy. B.V., & Gupta. A (2020). Importance of effective communication during COVID-19 infodemic. J Family Med Prim Care. 9(8), 3793–3796. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7586512/