แนวปฏิบัติที่ดีของนักวิชาการศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ไชยมนู กุนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการศึกษาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการเรียนการสอนและงานฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของนักวิชาการศึกษาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการเรียนการสอนและงานฝ่ายวิชาการวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประชากรในการศึกษาคือนักวิชาการศึกษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการและนักวิชาการศึกษาที่มีประสบการณ์งานวิชาการปริญญาตรี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง จำนวน 5 คน เครื่องมือการศึกษาจากเอกสาร ภาระงาน และแบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย และสังเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติที่ดีของนักวิชาการศึกษาที่ได้รับผิดชอบการให้บริการผ่านเคาน์เตอร์งานวิชาการระดับปริญญาตรี ได้แก่ 1) งานคลังข้อสอบ การรวบรวมและผลิตข้อสอบ ตรวจเช็คจำนวน จัดเก็บและส่งคืนให้กับอาจารย์ประจำรายวิชา 2) งานประมวลผลการศึกษาการสรุปผลการศึกษา นำเสนอคณะกรรมการประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครองพิจารณาและส่งผลการศึกษา 3) งานบริการคำร้องนิสิต ให้บริการ 2 ส่วนคำร้องที่สิ้นสุดที่งานวิชาการปริญญาตรี และคำร้องที่สิ้นสุดกองทะเบียนและประมวลผล ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกแก่นิสิต 4) งานบริการให้คำปรึกษา การจัดกิจกรรมโครงการอาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิตประจำภาคการศึกษา และ 5) งานประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การจัดกิจกรรมโครงการวิชาการสัญจร ภาคการศึกษาละ 2 ครั้ง จากภาระงานที่ได้รับมอบหมายงานทั้ง 5 งาน จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีของการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและนำไปปฏิบัติได้รวดเร็วมากขึ้น

Article Details

How to Cite
กุนอก ไ. . . (2020). แนวปฏิบัติที่ดีของนักวิชาการศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Journal of Politics and Governance, 10(2), 180–206. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/245543
บท
บทความวิจัย

References

กองทะเบียนและประมวลผล. (2556). คู่มือระบบบริการการศึกษาและการใช้บริการงานทะเบียน. ขอนแก่น : โรงพิพม์คลังนานาวิทยา.
_____. (2556). คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2556. ขอนแก่น : โรงพิพม์คลังนานาวิทยา.
_____. (2560). คู่มือระบบบริการการศึกษาและการใช้บริการงานทะเบียน. ขอนแก่น : โรงพิพม์คลังนานาวิทยา.
_____. (2560). คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2560. ขอนแก่น : โรงพิพม์คลังนานาวิทยา.
จิราพัชร ทิ้งแสน. (2556). Best Practice การจัดการองค์ความรู้สู่อัจฉริยะ. วารสารสาระสนเทศ. สืบค้นเจาก https://www.gotoknow.org/posts/424151
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. (2559). คำสั่งปฏิบัติงานพนักงานและบุคลากรวิทยาลัยการเมืองการปกครอง. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
_____. แนะนำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสาระสนเทศ. สืบค้นจาก http://www.copag.msu.ac.th/copag/index.php?BL=aboutcopag/aboutcopag
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. โครงสร้างองค์กรวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสาระสนเทศ. สืบค้น จาก http://www.copag.msu.ac.th/
copag/files/pdfs/aboutcopag/copag012.pdf.
วัลลภ สันติประชา. (2555). บุคลากรสายสนับสนุนคือคนสำคัญในประสิทธิภาพและพัฒนาขององค์กร. วารสารสาระสนเทศ. สืบค้นจาก http://share.psu.ac.th/blog/fnr-devolop/24506
สุเทพ ไชยวุฒิ เกตุมณี มากมี และ ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม. พิฆเนศวร์สาร, 13(2), 129-147.
เชวงศักดิ์ เทวะสิงห์ สมชาย วงษ์เกษม และ จำเนียร พลหาญ. (2558). การศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(3), 33-41.
เบญจวรรณ นูขุนทด และจตุรงค์ ธนะสีลัง. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานของนักวิชาการศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา.
การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน. 168-172