การใช้หลักพุทธธรรมในกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในชุมชนของผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านศึกษากรณี บ้านเขวากลาง หมู่ 2 ตำบลเขวาใหญ่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

วิศิษฏ์ เจนนานนท์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การใช้หลักพุทธธรรมในกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในชุมชนของผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ศึกษากรณี บ้านเขวากลาง หมู่ 2 ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยใช้หลักพุทธธรรมของผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกภาคสนามกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการทางด้านพุทธศาสนา จำนวน 2 คน กลุ่มผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 2 คน และกลุ่มลูกบ้านผู้ที่เคยมีความขัดแย้งและเป็นคู่กรณีกันมาก่อน จำนวน 4 คน รวมจำนวน 8 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่าความขัดแย้งที่พบในหมู่บ้านเขวากลาง หมู่ 2 ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งด้านข้อมูล (Data Conflict) และความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ (Interest Conflict) ซึ่งในมุมมองของพระพุทธศาสนา มองว่าความขัดแย้งดังกล่าว เกิดมาจากมูลเหตุภายใน คือ มิจฉาทิฏฐิ ซึ่งมีที่มาจาก อโยนิโสมนสิการ อกุศลมูล 3 และปปัญจธรรมโดยมี ทิฏฐิเป็นแกนกลาง ส่วนหลักธรรมที่ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านซึ่งเป็นคนกลางนำมาใช้ในการเจรจาไกล่เกลี่ย ได้แก่ หลักอคติ 4,หลักพรหมวิหารธรรม, หลักขันติธรรม และการคิดแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อวิเคราะห์เรื่องราวความขัดแย้ง ส่วนหลักธรรมสำหรับผู้เสียหายในการเจรจาไกล่เกลี่ย คือ หลักอภัยทาน หลักธรรมสำหรับผู้กระทำความผิดในการเจรจาไกล่เกลี่ย คือ กุศลมูล, อกุศลมูล, หิริโอตตัปปะ และรูปแบบการเจรจาไกล่เกลี่ยที่ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านซึ่งเป็นคนกลางได้ใช้ในการเจรจาไกล่เกลี่ย ก็คือใช้ หลักการประนีประนอม หรือที่ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ติณวัตถารกะ” ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ใช้ในการระงับความขัดแย้งประเภทหนึ่งใน “อธิกรณสมถะ” นอกจากนี้ยังได้นำภูมิปัญญาพื้นบ้านท้องถิ่นของชาวอีสานคือ ความเชื่อถือและความเคารพต่อผู้ที่มีอาวุโสกว่า มาประยุกต์ใช้ในการระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนอีกด้วย ซึ่งการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยใช้หลักพุทธธรรมนี้ถือว่าเป็นจัดการปัญหาความขัดแย้งแนวพุทธสันติวิธีที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการความขัดแย้งได้ทุกเรื่อง เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและความเข้มแข็งสามัคคีให้แก่ชุมชน

Article Details

How to Cite
เจนนานนท์ ว. . . (2020). การใช้หลักพุทธธรรมในกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในชุมชนของผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านศึกษากรณี บ้านเขวากลาง หมู่ 2 ตำบลเขวาใหญ่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Politics and Governance, 10(2), 124–139. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/245537
บท
บทความวิจัย

References

ชาญณรงค์ บุญหนุน. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ”ความเป็นธรรมในพระไตรปิฎก” ชุดโครงการ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ชลากร เทียนส่องใจ. (2553). การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลางเชิงพุทธ: หลักการและเครื่องมือสำหรับการจัดการความขัดแย้ง.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ปกรณ์ ศรีปะลาด. (2553). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษามโหสถชาดก.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). สลายความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). นิติศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 13) กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พรกิจ กิจจารุวัฒนากูล. (2551). การประยุกต์ใช้หลักธรรมเพื่อแก้ปัญหาครอบครัวในสังคมปัจจุบัน. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่ 1-33 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2550). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
อัจฉรียา ธิรศริโชติ. (2552). ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในพระวินัยปิฎก. สังคมวิทยามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.