มาตรการทางกฎหมายในการปราบปรามการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานทางบก

Main Article Content

กรวิไล เทพพันธ์กุลงาม

บทคัดย่อ

อาชญากรรมการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและเป็นภัยต่อความสงบสุขของโลกเนื่องจากเป็นอาชญากรรมข้ามชาติร้ายแรงและเชื่อมโยงกับอาชญากรรมข้ามชาติอื่น เช่น การค้ามนุษย์ ซึ่งจากรายงานของ United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) ในปีพ.ศ. 2561 ชื่อ “รายงานระดับโลกว่าด้วยการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน” ระบุว่ามีผู้โยกย้ายถิ่นฐานตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมนี้อย่างน้อย 2.5 ล้านคนทั่วโลก และอาชญากรรมนี้ทำรายได้ให้แก่เครือข่ายอาชญากรถึง 5.5-7 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอาชญากรรมนี้ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พิธีสารเพื่อต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานทางบก ทางทะเล และทางอากาศฯ เป็นตราสารระหว่างประเทศที่สำคัญที่เป็นเสมือนเครื่องมือของรัฐในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะยังมิได้เป็นประเทศภาคี แต่กระนั้นก็ดีประเทศไทยได้ออกประกาศร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน พ.ศ.... ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561 เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าเป็นรัฐภาคีในพิธีสารฯ จากการศึกษาพบว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ยังคงมีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่สอดคล้องกับพิธีสารฯ ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้ปรับปรุงบทบัญญัติร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน พ.ศ.... และกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพิ่มเติมดังนี้ 1. กำหนดความผิดเกี่ยวกับการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานตามพิธีสารฯ โดยให้พิจารณาแก้ไขโทษขั้นต่ำและการยกเว้นความรับผิดทางอาญา2. กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรผู้รับผิดชอบโดยใช้เกณฑ์มาตรการทางกฎหมายตามพิธีสารฯ 3. กำหนดบทบาทองค์กรและช่องทางการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยให้กรมสอบสวนพิเศษมีอำนาจหน้าที่บทบาทในฐานะองค์กรผู้รับผิดชอบด้านการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด

Article Details

How to Cite
เทพพันธ์กุลงาม ก. . (2020). มาตรการทางกฎหมายในการปราบปรามการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานทางบก. Journal of Politics and Governance, 10(2), 104–123. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/245535
บท
บทความวิจัย

References

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2547). หลักพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. (พิมพ์ครั้งที่ 2.). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ศาลอาญา. (2560). คำพิพากษาคดีค้ามนุษย์ คม.27/2558 (โรฮีนจา). สืบค้น จาก http://www.crimc.coj.go.th/doc/data/crimc/crimc_1500526908.pdf
Gallagher, A., & David, F. (2014). The International Law of Migrant Smuggling. New York: Cambridge University Press.
Schloenhardt, A. (2015). Migrant Smuggling in Asia: Current Trends and Related Challenges. Bangkok: United Nations Office on Drugs and Crime, Regional Office for Southeast Asia and the Pacific.
The International Law Commission. (2014). The Obligation to Extradite or Prosecute (aut dedere aut judicare): Final Report of the International Commission 2014. The United Nations. Retrieved from http://legal.un.org/ilc/texts/instruments/ english/reports/7_6_2014.pdf
United Nations General Assembly. (2000). Interpretative Notes for the Official Records (Travaux Préparatoires) of the Negotiation of the United Nations Convention against Transnational Organized Crime and the Protocols thereto [Ebook]. United Nations. Retrieved from http://undocs.org/A/55/383/Add.1
UNODC. (2010). Toolkit to Combat Smuggling of Migrants. [Ebook]. Vienna: UNODC. Retrieved from https://www.unodc.org/documents/human-trafficking/SOM_Toolkit_E-book_english_Combined.pdf
UNODC. (2013). Transnational Organized Crime in East Asia and the Pacific: A Threat Assessment. [Ebook]. New York: United Nations Publications. Retrieved from https://www.unodc.org/documents/data-and-analysis/Studies/ TOCTA_EAP_web.pdf
UNODC. (2018). Global Study on Smuggling of Migrants. [Ebook]. Vienna: United Nations Publication. Retrieved from https://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/ files/resources/GLOSOM_2018_web_small.pdf