การสร้างอิทธิพลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการนโยบายสาธารณะของไทย: กรณีโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (ถ่านหิน) กระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและวิธีการสร้างอิทธิพลของกลุ่มต่าง ๆ ต่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน(ถ่านหิน)กระบี่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าการต่อสู้ของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อสร้างอิทธิพลในกระบวนการนโยบายมีความแตกต่างกันทั้งในมิติของกลุ่มและมิติการสนับสนุนหรือคัดค้าน โดย กฟผ. มีอำนาจที่จะส่งผู้แทนเป็นคณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการต่าง ๆ ตั้งแต่กระบวนการร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กฟผ. ได้สร้างเครือข่ายผ่านระบบราชการ อุดหนุนงบประมาณให้กิจกรรมหรือโครงการของท้องถิ่น ส่วนผู้ประกอบการเอกชนในจังหวัดกระบี่ส่วนใหญ่นอกจากการสร้างอิทธิพลในกระบวนการนโยบายทางอ้อมโดยที่สนับสนุนเงินให้กลุ่มต่อต้านถ่านหินเป็นค่าเดินทางและอาหารในการชุมนุมแล้ว กลุ่มธุรกิจเอกชนยังรวมกลุ่มกันออกแถลงการณ์ ลงนามและส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังสื่อสารทางตรงและล็อบบี้กับผู้มีอำนาจในภาคส่วนต่าง ๆ ประชาชนและนักการเมืองท้องถิ่นที่สนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินได้กลายเป็นเครือข่ายของ กฟผ. ผ่านการศึกษาดูงานของ กฟผ. อีกทั้งยังมีการขึ้นป้ายสนับสนุนที่หน้าบ้านของตนเอง รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและจัดโดย กฟผ. ส่วนประชาชนและนักการเมืองท้องถิ่นที่ไม่เห็นด้วยกับถ่านหินบางส่วนได้ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง และได้เข้าร่วมการเป็นเครือข่ายกับกลุ่มต่อต้านถ่านหินที่มีบทบาทนำโดย NGOs นักการเมืองระดับชาติเจ้าของพื้นที่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านและข้อเสนอแนวทางอื่นในการผลิตไฟฟ้า และการสร้างอิทธิพลของสื่อมวลชนพบว่าถึงแม้มีความพยายามกดดันจากหน่วยงานภาครัฐแต่สื่อมวลชนก็พยายามนำเสนอข่าวให้รอบด้าน อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการซื้อโฆษณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ปรากฏว่ายังมีสื่อสาธารณะและสื่อกระแสรองหลายสำนักที่นำเสนอข่าวที่หลากหลายกว่าสื่อกระแสหลัก
Article Details
References
กองประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ โรงไฟฟ้ากระบี่. (2559, กุมภาพันธ์ 19). ข่าวสารกิจกรรมร่วมกับชุมชุนเพื่อชุมชน. สืบค้นจาก http://krabi.egat.co.th/home/index. php/en/news/community
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2557, มีนาคม 4). Thailand’s Energy Situation in 2014. สืบค้นจาก http://www.eppo.go.th/info/cd-2015/pdf/cha1.pdf.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2558, สิงหาคม 2). 6 คำถามโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่สังคมต้องการคำตอบ. สืบค้นจาก https://www.egat.co.th/index.php?option=com_ content&view=article&id
คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน. (2555, มิถุนายน 1). สรุปแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2555-2573 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3). สืบค้นจาก http://www.erc.or.th/ERCWeb2/Upload/Document/PDP2010-Rev3-Cab19Jun2012-T.pdf
คมชัดลึกออนไลน์. (2560, กุมภาพันธ์ 27). นายกฯสั่งยกเลิก EIA และ EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่. สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/regional/262174
จันทรานุช มหากาญจนะ. (2559). การเมืองและการบริหารเปรียบเทียบ กรอบทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการวิจัย. คณะรัฐประศาสนศาสตร์: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชำนาญ จันทร์เรือง (2559, พฤษภาคม 11). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637713
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2540). การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ: บทสำรวจพรมแดนแห่งความรู้แนววิพากษ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไทยรัฐออนไลน์. (2560, มกราคม 30). ค.1 โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ คึกคัก ผู้สนใจร่วมรับฟังกว่า 2,500 คน. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/ content/1189645
ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์. (2557). กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มกดดัน และกระบวนการนโยบายสาธารณะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 8 (1), 61-76.
ใบตองแห้ง. (2560, กุมภาพันธ์ 24). ม็อบมีเส้น? :คอลัมน์ ใบตองแห้ง. สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_231545
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผู้จัดการออนไลน์. (2561, มีนาคม 6). 21 องค์กรเอกชนกระบี่ ออกแถลงการณ์ krabi - Andaman go green ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน. สืบค้นจาก https://m.mgronline.com/ south/detail/9610000022696
มติชนออนไลน์. (2560, กุมภาพันธ์ 8). อภิสิทธิ์-กรณ์”แถลง แนะรบ.เปลี่ยนโรงไฟฟ้า ใช้แอลเอ็นจี-น้ำมันปาล์มแทนถ่านหิน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/ politics/news_456315
วอยซ์ทีวี. (2558, กรกฎาคม 26). NGO โต้ ถ่านหินสะอาดไม่มีจริง. สืบค้นจากhttps://www.voicetv.co.th/read/237240
สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม. (2561, มีนาคม 24). วงเสวนาถ่านหินในงานSETA2018 จี้รัฐทบทวนการชะลอสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินภาคใต้. สืบค้นจาก http://www.iie.or.th/ iie2016/energy_detail.php?news_id=1347
ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ). (2557, มีนาคม 7). จี้ กฟผ.เลิกโรงไฟฟ้ากระบี่ ชี้กระทบสุขภาพ-ท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.tcijthai.com/news/ 2014/07/scoop/3955
อิศรานิวส์. (2558, กรกฎาคม 24). เปิดงบฯจ้าง‘ที่ปรึกษา’กฟผ. 23 โครงการ 128.8 ล.- โรงไฟฟ้า จ.กระบี่ด้วย 23.2 ล. สืบค้นจาก https://www.isranews.org/isranews-scoop/40132-_40132.html
อิศรานิวส์. (2559, มิถุนายน 3). เปิดขุมทรัพย์ ‘จ้างที่ปรึกษา’ ใน ก.คมนาคม 2 กลุ่มใหญ่รวบ 146 โครงการ 6.3 พันล. สืบค้นจาก https://www.isranews.org/isranews-scoop/47449-report_trainnorth_30659.html
สัมภาษณ์
กรวิทย์ ไทรบุรี, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
กิจจา ทองทิพย์, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
กิตติชัย เอ่งฉ้วน, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
จีรศักดิ์ มาศโอสถ, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ชูศักดิ์ เหลาเส็น, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
นพรัตน์ นาคทอง, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
บรรณาธิการสื่อออนไลน์ไม่ประสงค์ออกนาม คนที่ 1, สัมภาษณ์ มิถุนายน 2561.
บรรณาธิการสื่อออนไลน์ไม่ประสงค์ออกนาม คนที่ 2, สัมภาษณ์ พฤษภาคม 2561.
ประชาชนตำบลเกาะลันตาใหญ่ไม่ประสงค์ออกนาม, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนตำบลเกาะศรีบอยาไม่ประสงค์ออกนาม, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนตำบลคลองขนานไม่ประสงค์ออกนาม คนที่ 1, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนตำบลคลองขนานไม่ประสงค์ออกนาม คนที่ 2, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนตำบลตลิ่งชันไม่ประสงค์ออกนาม, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนตำบลปกาสัยไม่ประสงค์ออกนาม, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมไม่ประสงค์ออกนาม, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนบ้านคลองยวนไม่ประสงค์ออกนาม คนที่ 2, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนบ้านคลองยวนไม่ประสงค์ออกนาม คนที่ 3, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนบ้านคลองยวนไม่ประสงค์ออกนามคนที่ 1, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนบ้านแหลมหินไม่ประสงค์ออกนาม คนที่ 1, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประชาชนบ้านแหลมหินไม่ประสงค์ออกนาม คนที่ 2, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ประสิทธิ์ชัย หนูนวล, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
มุตตอฝา เกื้อชาติ, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
วิมลชัย ไชยมงคล, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
สมนึก กรดเสือ, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
ส่าม่าแอน กสิกุณ, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
สิรินิมิตร บุญยืน, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
หิรัญ ดินแดง, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.
อดีตนักข่าวสายสิ่งแวดล้อมไม่ประสงค์ออกนาม, สัมภาษณ์ มิถุนายน2561.
อัครเดช ฉากจินดา, สัมภาษณ์ เมษายน 2561.