แนวทางในการพัฒนาองค์กรเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชน ที่ทำการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การขับเคลื่อนกลไกที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือประชาชนเข้าสู่ระบบการอนุญาตการประกอบกิจการประเภทต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อให้มีการวางรากฐานการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์นั้น ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษากฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและกรอบการดำเนินงานขององค์กรเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชนในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) เปรียบเทียบองค์กรเครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทยและต่างประเทศ 3) สังเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) ขององค์กรเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชนที่ทำการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทยและต่างประเทศ และ 4) เสนอแนวทางในการพัฒนาองค์กรเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชนที่ทำการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย ทั้งนี้ผลการศึกษา พบว่า ประเทศไทยมีประเด็นกฎหมายที่สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชนที่ทำการตรวจสอบเนื้อหาในเบื้องต้น ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายฯ ร่วมกันกับองค์กรวิชาชีพสื่ออื่นๆ โดยทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในดูแล สนับสนุน และผสานเครือข่ายให้กับองค์กรเครือข่ายจิตอาสาฯ พร้อมทั้งเป็นสื่อกลางในการจัดทำเว็บไซต์รวบรวมองค์กรเครือข่ายจิตอาสาฯเข้าด้วยกัน อีกทั้งใช้เป็นกลไกในการรับเรื่องร้องเรียนเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ กสทช. ควรมีการสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายจิตอาสาฯ โดยให้มีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ทั้งนี้จากผลการศึกษาคณะผู้วิจัยได้เสนอข้อเสนอแนะไว้ 2 ประการ คือ องค์กรเครือข่ายจิตอาสาที่เหมาะสมในประเทศไทย ควรมีองค์กรที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการสนับสนุน ดูแลและรับผิดชอบเครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ และควรมีแนวทางเพื่อที่จะเชิญชวนคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเป็นจิตอาสามากขึ้น องค์กรเครือข่ายจิตอาสาที่จัดตั้งควรมีนักวิชาการหรือผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการวางใจจากเครือข่ายจิตอาสา
Article Details
References
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม. (2561). รายงานผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี 2560. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561: จากhttp://www.nbtc.go.th /getattachment/ Information/AnnualReport/31734/เอกสารแนบ.pdf.aspx
คณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน. (2561). ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน (ฉบับรับฟังความคิดเห็น). สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2561, จากhttp://www.thailawreform.go.th/th/wp-content/uploads/2018/09/1.ร่าง-พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมฯ-ฉบับรับฟังความคิดเห็น.pdf
เชิญพร คงมา. (2551). บทบาทของภาคประชาสังคมในการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์พ.ศ. 2556. (2556). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 27 ง.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (ฉบับที่ 2). (2555). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 129 ตอนพิเศษ 156 ง.
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 42 ก.
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก.
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553. (2553). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 78 ก.
พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ และศศิธร ยุวโกศล. (2546). การกำกับดูแลเนื้อหาของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2557). รายงานวิเคราะห์บทบัญญัติว่าด้วยธรรมาภิบาลในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และข้อเสนอในการปรับปรุง, โครงการ Thai Law Watch ร่วมกับโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch).
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2558). พระราชบัญญัติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2561, จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/ %A1149/%A1149-20-2558-a0001.htm
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2555). พรบ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2561, จาก https://www.nbtc.go.th/getattachment/law/
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2560). พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2561, จาก https://www.nbtc.go.th/getattachment/.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). รายงานโครงการฝึกอบรมหลักสูตร“Broadcast Regulation”. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.). (2555). การกำกับดูแลเนื้อหากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์: ประสบการณ์จากต่างประเทศสู่ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
อรวี ศรีชำนาญ. (2558). การกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าวในโทรทัศน์ภาคพื้นดินที่ออกอากาศในระบบดิจิทัล ในช่วงหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์คณะนิเทศศาสตร์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
อัจจนาถ ไชยนาพงษ์ วนัสรา เชาวน์นิยม และ บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2559). ปัจจัยจูงใจความมีจิตอาสาในกิจกรรมสาธารณสุขของผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการในจังหวัดชลบุรีวารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2): 65-75.
อิทธิพล วรานุศุภากุล. (2560). การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
Australian Government. (2017). Radio communications Act 1992. Retrieved December, 27 2018, from https://www.legislation.gov.au/Details/C2017C00195.
Camaj, L. (2018). Blurring the boundaries between journalism and activism: A transparency agenda-building case study from Bulgaria, Journalism, 19(7), 994–1010.
Federal Communications Commission. (1934). COMMUNICATIONS ACT OF 1934. Retrieved December, 25 2018, from https://transition.fcc.gov/Reports/1934new.pdf
Federal Communications Commission. (2013). Telecommunications Act of 1996. Retrieved December, 26 2018, from https://www.fcc.gov/general/telecommunications -act-1996
Government of Singapore. 2018. Info-communications Media Development Authority Act 2016. Retrieved December, 25 2018, from https://sso.agc.gov.sg/Act/IMDAA2016#pr69-
Han, D. (2016). From vagueness to clarity? Articulating legal criteria of digital content regulation in China, Global Media and Communication, 12(3), 211–227.
Heuman, J. (2011). “Integral to the Plot, and in No Way Gratuitous”? Constructing Creative Freedom in the Liberalization of Canadian Content Regulation, Television & New Media, 12(3), 248–272.
International Constitutional Law. (2010). United Kingdom - "Constitution". Retrieved December, 24 2018, from http://www.servat.unibe.ch/icl/uk00000.html#C001_
Mutu, A. (2018). The regulatory independence of audiovisual media regulators: A cross-national comparative analysis, European Journal of Communication, 33(6), 619–638.
The Attorney-General's Department, Australian Government. (2018). Right to freedom of opinion and expression. Retrieved from https://www.ag.gov.au/RightsAnd Protections/HumanRights/Human-rights-scrutiny/PublicSectorGuidanceSheets/Pages /Righttofreedomofopinionandexpression.aspx
The Stationery Office Limited. (2003). Communications Act 2003. Retrieved December, 23 2018, from https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2003/21
World Intellectual Property Organization. (2013). Broadcasting Services Act 1992. Retrieved December, 23 2018, from https://www.wipo.int/edocs/lexdocs/laws /en/au/au360en-part1.pdf
iLaw, 2560. ก่อนเสนอร่างพ.ร.บ.จดทะเบียนสื่อฯ ลองดูบทเรียนเพื่อนบ้านเมื่อสื่อถูกคุมเข้มด้วยระบบใบอนุญาต. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2561, จาก https://ilaw.or.th/node/4546