กระบวนการเกิดอาชญากรรมในแง่มุมของพุทธธรรม

Main Article Content

วิศิษฏ์ เจนนานนท์
ปีนณ์ฬยาข์ ฒิตสุนทโรทยาน
สุเทพ พรมเลิศ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้สาเหตุการเกิดอาชญากรรมและรูปแบบการป้องกันอาชญากรรมตามหลักพุทธธรรมในพระไตรปิฎก โดยการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) ซึ่งศึกษาทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 25 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจาก ผู้ต้องขังเพศชายที่ถูกคุมขังในฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายและความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในเรือนจำกลาง 9 แห่ง รวมจำนวนทั้งหมด 395 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ (scheffe’) ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุการเกิดอาชญากรรมในแง่มุมของพุทธธรรม เกิดจากสาเหตุภายใน อันได้แก่ อโยนิโสมนสิการ อกุศลมูล 3 (ต้นเหตุของความชั่ว 3 ประการ) และอนุสัย 7 (ความชั่วที่แฝงซ่อนตัวอยุ่ในความรู้สึกนึกคิด 7 ประการ) และเกิดจากสาเหตุภายนอก หรือ ปรโตโฆสะ (ความรู้ เสียงบอกเล่าจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอกซึ่งเป็นฝ่ายไม่ดี) อันได้แก่ อาชญากรรมที่เกิดจากปาปมิตร (การคบคนชั่ว)และการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ซึ่งในทางพุทธศาสนา เรียกว่า “ปฏิรูปเทสวาสะ” ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ระดับของความเห็นต่อปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการกระทำความผิดในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน คือ ปัจจัยทางด้านจิต ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของ การกระทำความผิดอยู่ในระดับปานกลางเป็นอันดับแรกคือ ปัจจัยทางด้านสังคม รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยทางด้านจิต และปัจจัยทางด้านกายภาพหรือสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับสอง การทดสอบสมมติฐาน พบว่าสาเหตุการกระทำความผิดจาก ตัณหา (ความอยาก) มานะ (ความถือตัว) ทิฎฐิ (ความเห็นผิด) จะมีความแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามผู้กระทำความผิดเพศชายที่มี อายุ แตกต่างกัน พบว่าในภาพรวมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยทางด้านจิต และปัจจัยด้านกายภาพหรือสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยทางด้านสังคมไม่มีความแตกต่าง ถ้า ระดับการศึกษา แตกต่างกัน พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านของปัจจัยทางด้านจิต ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งถ้ารายได้ แตกต่างกัน พบว่า ทั้งในภาพรวม และรายด้านของ ปัจจัยทางด้านจิต ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 แต่ถ้าครอบครัวที่ให้กำเนิดมา แตกต่างกัน พบว่า ทั้งในภาพรวม และรายด้านของ ปัจจัยทางด้านจิต ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 และถ้าประเภทของข้อหาความผิดแตกต่างกัน พบว่าทั้งในภาพรวมและรายด้านของ ปัจจัยทางด้านจิต ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่มีความแตกต่างกัน และถ้าลักษณะการกระทำผิดร่วม แตกต่างกัน พบว่าทั้งในภาพรวมและรายด้านของ ปัจจัยทางด้านจิต ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่มีความแตกต่างกัน และถ้าจำนวนครั้งที่ต้องโทษ แตกต่างกัน พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านของปัจจัยทางด้านจิต ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05

Article Details

How to Cite
เจนนานนท์ ว., ฒิตสุนทโรทยาน ป., & พรมเลิศ ส. (2019). กระบวนการเกิดอาชญากรรมในแง่มุมของพุทธธรรม. Journal of Politics and Governance, 9(1), 55–69. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/185739
บท
บทความวิจัย

References

ธานี วรภัทร์. (2554). วิกฤตราชทัณฑ์ วิกฤตกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญชน.
นิศากร อุบลสุวรรณ.(2557). การกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.
อัณณพ ชูบำรุง. (2540). อาชญาวิทยาแนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Mannheim, Hermann. (1973). Comparative Criminology, Vol 1. London : Routledge & Kegan Paul.