ผลของการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ: กรณีศึกษาสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีในสังกัดภาค 2

Main Article Content

วนิชชา โพธิ์ทอง
เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาท ในชั้นพนักงานอัยการ และเพื่อศึกษาผลของการประนอมข้อพิพาท โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร จากเอกสารสารบบประนีประนอมข้อพิพาทคดีแพ่งและอาญา ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีในสังกัดภาค 2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2559 จำนวนทั้งสิ้น 106 เรื่อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดระยอง เป็นพื้นที่ที่มีเรื่องเข้าสู่กระบวนการมากที่สุด ประเภทคดีที่เข้าสู่กระบวนการเกือบทั้งหมดเป็นคดีแพ่ง โดยคู่กรณีส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา ลักษณะของข้อพิพาทที่เข้าสู่กระบวนการเป็นเรื่องหนี้มากที่สุด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากข้อขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ ซึ่งเกือบทั้งหมดพนักงานอัยการเป็นผู้ทำหน้าที่ประนอมข้อพิพาท สำหรับผลการประนอมข้อพิพาทในภาพรวมพบว่า 44.34% ของเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาทสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ และ 36.79% ยุติการไกล่เกลี่ย ส่วนเรื่องที่ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จมีเพียง 18.87% สำหรับระยะเวลาของกระบวนการประนอมข้อพิพาทโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 16 วันโดยเรื่องที่สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จใช้เวลาเฉลี่ย 15 วัน เรื่องที่ไกล่เกลี่ย ไม่สำเร็จใช้เวลาเฉลี่ย 14 วัน และเรื่องที่ต้องยุติการไกล่เกลี่ยมีเวลาในการประนอมข้อพิพาทเฉลี่ย 18 วัน

Article Details

How to Cite
โพธิ์ทอง ว., & เลี่ยมสุวรรณ เ. (2018). ผลของการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ: กรณีศึกษาสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีในสังกัดภาค 2. Journal of Politics and Governance, 8(3), 152–168. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/162253
บท
บทความวิจัย

References

จักรกริญน์ ทอดสูงเนิน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. การศึกษา ค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความขัดแย้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
เฉลิม สุขเจริญ.(2557). แรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.
ดำริห์ สุตเตมีย์. (2539). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยองค์กรฝ่ายบริหาร ศึกษาเฉพาะกรณีการ ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการยุติธรรมกระทรวงยุติธรรม.
ธงชัย สันติวงษ์. (2549). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ประชาชาติธุรกิจ. (2559). คนจน จนติดดิน สถิติหนี้สูงสุดรอบ 8 ปี คนรวย รวยล้นฟ้า. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 4 เมษายน 2560, จาก http://www.prachachat.net/ news_detail.php? newsid=1462525663
ยุทธนา ทาตายุ. (2543). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการผลิต: กรณีศึกษากองการผลิตบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ. (2559 ก). ขั้นตอน วิธีการ และระเบียบว่าด้วยการช่วยเหลือ ทางกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานอัยการสูงสุด.
สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ. (2559 ข). ความรู้เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการไกล่เกลี่ย และประนอมข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: สำนักงานอัยการสูงสุด.
สมเกียรติ แพทย์คุณ. (2548). การพัฒนารูปแบบการประนอมข้อพิพาทในชั้นการดำเนินการของพนักงานอัยการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานอัยการภาค 2. (2557). คู่มือประจำสำนักงานอัยการภาค 2 (Guide Book). ชลบุรี: สำนักงานอัยการภาค 2.
สำนักงานอัยการภาค 2. (2559 ก). ทำเนียบข้าราชการอัยการ ธุรการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และบุคลากรอื่นของสำนักงานอัยการต่าง ๆ ภายในภาค 2. ชลบุรี: สำนักงานอัยการภาค 2
สำนักงานอัยการภาค 2. (2559 ข). ปริมาณคดีประจำปี พ.ศ. 2559 ของสำนักงานอัยการจังหวัดทุกสำนักงานภายในสังกัดภาค 2. ชลบุรี: สำนักงานอัยการภาค 2.
สำนักงานอัยการสูงสุด. (2559 ก). คู่มือการช่วยเหลือในการประนอมข้อพิพาทแก่ประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานอัยการสูงสุด.
สำนักงานอัยการสูงสุด. (2559 ข). รวมกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และหนังสือเวียนปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน สคช. กรุงเทพฯ: สำนักงานอัยการสูงสุด.
อานันท์ ธีระชิต. (2538). การประนอมข้อพิพาทระดับหมู่บ้านโดยคณะกรรมการหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.