การวิเคราะห์ระบบบริหารเงินทดรองราชการ: กรณีศึกษาวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2557
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ระบบบริหารเงินทดรองราชการ : กรณีศึกษาวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2557 ในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบงาน การปฏิบัติงานและการบริหารเงินทดรองราชการ และได้คู่มือปฏิบัติงานเรื่องเงินทดรองราชการ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารในปีงบประมาณ 2553 – 2557 รวม 5 ปี ย้อนหลัง พบว่า มีปัญหาในการเคลียร์เอกสารเงินยืมทดรองราชการเป็นจำนวนคิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เข้าในขั้นตอนการยืมเงินทดรองราชการส่งผลให้ผู้ยืมเงินทดรองราชการต้องจ่ายดอกเบี้ย และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือ และเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ที่ยื่นคำร้องขอยืมเงินทดรองราชการ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ยืมเงินทดรองราชการส่วนมากไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินงานเคลียร์เอกสาร (2) ผู้ยืมเงินทดรองส่วนมากไม่ทราบว่ามีกำหนดระยะเวลาในการเคลียร์เงินยืมทดลองราชการ (3) ผู้ยืมเงินทดรองราชการส่วนมากไม่ทราบว่าต้องมีการจ่ายดอกเบี้ย (4) ผู้ยืมเงินทดรองราชการใช้จ่ายเงินไม่ตรงตามที่ขออนุมัติจึงไม่สามารถหาเอกสารเคลียร์เงินยืมทดรองราชการได้ส่งผลให้ต้องคืนเงินสด (5) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเคลียร์เงินยืมไม่อยู่ เจ้าหน้าที่ในฝ่ายไม่สามารถปฏิบัติงานแทนได้ โดยสรุป จากผลการวิจัยที่ได้ 5 ข้อดังกล่าว ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาในการดำเนินงานเกี่ยวกับเงินทดรองราชการ จึงได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อความคลาดเคลื่อนของข้อมูลในการเคลียร์เงินยืมของผู้ยืมเงินทดรองราชการ และเพื่อเป็นคู่มือปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่งานการเงินและบัญชี ปฏิบัติราชการได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยเงินทดรองราชการของหน่วยงานจากเงินรายได้ พ.ศ. 2552ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยเงินทดรองราชการของหน่วยงานจากเงินรายได้พ.ศ. 2552 และนอกเหนือจากนี้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของวิทยาลัยการเมืองการปกครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เรื่องเงินทดรางราชการของกองคลังและพัสดุ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Article Details
References
นายิกา เดิดขุนทด. (2544). การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน. อินฟอร์เมชั่น. 8(1-2).
ปลวัช ปัดเสน. (2554). ตามระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยเงินทดรองราชการของหน่วยงานจากเงินรายได้ พ.ศ.2552. มหาสารคาม : กองคลังและพัสดุ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2552, 13 พฤศจิกายน). เรื่องระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยเงินทดรองราชการของหน่วยงานจากเงินรายได้ พ.ศ. 2552. ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์. (2554). การวิเคราะห์อัตรากำลังสายสนับสนุนในสังกัดฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์. (2543). รายงานการวิเคราะห์งบประมาณ มหาวิทยาลัย สถาบันในทบวงมหาวิทยาลัย. ขอนแก่น : กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2546). การคิดอย่างเป็นระบบและเทคนิคการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ : อริยชน, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2553. จาก http://th.wikipedia. org/wiki/
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือวิเคราะห์งาน. สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี: บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.
สุวิทย์ มูลคำ. (2548). ครบเครื่องเรื่องการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
เสถียร คามีศักดิ์. (2551). คู่มือการทำงานวิเคราะห์ : ข้าราชการตำแหน่งประเภทผู้บริหาร 18(ข)(7)ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะและเชี่ยวชาญเฉพาะ 18(ค) และพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์. นักจิตวิทยาและนักการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด. ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2553 จาก http://www. analusis.ispace.in.th/WBI_aum/webpage/ Analysis1.html