ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับราคาลดลงของที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530

Main Article Content

ปราโมทย์ สุวรรณแก้ว
บรรเจิด สิงคะเนติ

บทคัดย่อ

การศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับราคาลดลงของที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงความเป็นมาและความสัมพันธ์ของปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของหน่วยงานของรัฐ โดยศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับหลักกรรมสิทธิ์และกระบวนการเวนคืนเพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายเวนคืนมีความยุ่งยากและซับซ้อนมีปัญหาในการปฏิบัติงานผู้มีหน้าที่กำหนดค่าทดแทนไม่กำหนดค่าทดแทนให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนในกรณีเวนคืนที่ดินบางส่วนและที่ดินส่วนที่เหลือราคาลดลง จากการศึกษาวิจัย ผู้เขียนเห็นว่าการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์จากการเวนคืนอย่างเป็นธรรมนั้น ต้องกำหนดค่าทดแทนให้กับผู้ถูกเวนคืนอย่างครบถ้วน ทั้งในส่วนค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน และความเสียหายอื่นๆที่ได้รับเนื่องจากการถูกเวนคืน โดยเฉพาะค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนราคาลดลง ผู้มีหน้าที่กำหนดค่าทดแทนต้องกำหนดค่าทดแทนให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนราคาลดลงนั้นด้วย หรือถูกเวนคืนแล้วที่ดินส่วนที่เหลือได้รับความเสียหายจากการถูกเวนคืน หรือเมื่อถูกเวนคืนแล้วที่ดินส่วนที่เหลือเสียประโยชน์จากการเวนคืน หรือเมื่อถูกเวนคืนแล้วที่ดินส่วนเหลือใช้ประโยชน์ได้จำกัด ซึ่งความเป็นธรรมนั้นจะต้องพิจารณาถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของรัฐ และเพื่อให้ประชาชนผู้ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม การจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์นั้นรัฐจะต้องใช้งบประมาณแผ่นดินที่ได้จากภาษีของประชาชนอย่างคุ้มค่าการใช้บังคับกฎหมายหรือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดในการกำหนดค่าทดแทนอย่างครบถ้วนและภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะนำมาซึ่งความเป็นธรรมกับผู้ถูกเวนคืนที่เสียประโยชน์จากการเวนคืนและสังคม การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ใช้บังคับขณะทำการศึกษาไม่สามารถชดเชยความเสียหายให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนในกรณีที่ผู้ถูกเวนคืนไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้ เห็นควรเสนอหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนราคาลดลง และเสนอแก้กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้อำนาจหน่วยงานของรัฐจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่ผู้ถูกเวนคืนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์เดิมโดยสิ้นเชิง และให้รัฐสามารถนำที่ดินที่จัดซื้อหรือเวนคืนไปใช้ประโยชน์เพื่อการจัดทำสาธารณูปโภคอย่างอื่นได้

Article Details

How to Cite
สุวรรณแก้ว ป., & สิงคะเนติ บ. (2017). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับราคาลดลงของที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530. Journal of Politics and Governance, 7(2), 227–248. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/156786
บท
บทความวิจัย

References

คำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานส่งเสริมตุลาการ และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด.
เชื้อ คงคากุล. (2501). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ:คำบรรยายกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2555). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2554). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิญญูชน.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2555). กฎหมายปกครองเปรียบเทียบความรับผิดของรัฐในระบบกฎหมายเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2550). สัญญาทางปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นันทวัฒน์ บรมานันท์.( 2557). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ:สานักพิมพ์วิญญูชน.
ศุนันท์กรณ์ (จำปี) โสตถิพันธุ์. (2553). คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่งลาภมิ ควรได้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นัฐกานต์ ขำยัง. (2550). ค่าทดแทนที่เป็นธรรมตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง.กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บันทึกตอบข้อหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับเรื่อง กระบวนการเวนคืนและการ กำหนดค่าทดแทน.
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530(ฉบับอ้างอิง). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.