การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยเรื่อง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อทราบระดับความรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อทราบกระบวนการยุติธรรมชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จากการทำงานที่ผ่านมาของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ 3) เพื่อทราบแนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นำเสนอต่อสาธารณะ และเพื่อประกอบการพิจารณาในการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญการปฏิรูป ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของประชาชน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในเรื่อง กิจกรรมเกี่ยวกับความยุติธรรมและการป้องกันอาชญากรรมที่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกับชุมชนร่วมมือกัน ส่วนบทบาทการมีส่วนร่วมพบว่า การป้องกันอาชญากรรม การส่งเสริมศักยภาพของชุมชน และการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินงานยุติธรรมชุมชน ตลอดทั้งการแก้ปัญหาของชุมชน กล่าวคือ “ต้องแก้ไขโดยชุมชน เพื่อชุมชน” กระบวนการยุติธรรมชุมชนที่ผ่านมา เป็นวิธีการจัดการของคนในชุมชนกันเอง โดยไม่ผ่านโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นทางการ จากวิถีที่บรรพชนคนรุ่นก่อนนำมาใช้เพื่อการบริหารจัดการชุมชน แนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ภายใต้สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลาย จำเป็นต้องอาศัย “ความเข้าใจในบริบทสังคม” ของแต่ละชุมชนเป็นหลักผ่านกระบวนการปรึกษาหารือเพื่อสร้างความเข้าใจของชุมชนต่อกระบวนการยุติธรรม กล่าวคือ ให้ชุมชนได้ออกแบบและแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชนเอง
Article Details
References
ชนวนทอง ธนสุกาญาจน์ และคณะ. (2548). การพัฒนาพลังเครือข่ายยุติรรมชุมชน. โรงพิมพ์บริษัทพิมพ์ตีการพิมพ์ จำกัด. กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ. (2549). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และการจัดการความขัดแย้งในชุมชนมุสลิม: ศึกษากรณีชุมชนบ้านสลาม จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ (สค.ม.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพินธ์ สุวัณณปุระ. (2551). ยุติธรรมชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.