การปรับตัวของครัวเรือนภาคการเกษตรในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก กรณีศึกษาตำบลยางท่าแจ้ง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

กันตา วิลาชัย
ปาริชาติ อ่อนทิมวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของครัวเรือนภาคการเกษตรและการจัดการภัยพิบัติน้ำท่วมของหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการจัดการชุมชนภาคการเกษตรในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 5 หมู่บ้านในตำบลยางท่าแจ้ง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน สถิติต่างๆ การสำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก การสนทนากลุ่ม และการพรรณนาวิเคราะห์ การศึกษาค้นพบ ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่งการปรับตัวของครัวเรือนภาคการเกษตร พบว่า ตำบลยางท่าแจ้งมีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำชี พื้นที่ศึกษาจัดเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากระดับปานกลาง คือ มีน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำ โดยน้ำท่วมขัง 4 – 7 ครั้งในรอบ 10 ปี และเสี่ยงปานกลางต่อการลงทุนพัฒนาทางการเกษตร เกษตรกรจึงเปลี่ยนรูปแบบการทำนาปีจากการปลูกข้าวอายุสั้นเพื่อเกี่ยวก่อนน้ำท่วมมาเป็นการปลูกข้าวอายุยาว ประกอบกับการมีโครงการชลประทานทำให้เกษตรกรทำนาปรังได้ ครัวเรือนภาคการเกษตรจึงมีการผลิตเพื่อการค้ามากกว่าเพื่อยังชีพ ทั้งนี้ น้ำท่วมยังเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้เกษตรกรสามารถหาปลาและทำนาปรังเพื่อชดเชยรายได้จากน้ำท่วมนาปี นอกจากนี้เกษตรกรยังมีวิธีคิดที่เป็นบวกต่อน้ำท่วม โดยที่นาเป็นหัวใจสำคัญที่ประชาชนในพื้นที่ศึกษามุ่งดูแลรักษาให้รอดพ้นจากน้ำท่วมมากกว่าบ้านเรือนและทรัพย์สิน
ประเด็นที่สอง การจัดการภัยพิบัติน้ำท่วมของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า ประชาชนและภาครัฐมีการดำเนินการก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดน้ำท่วม โดยการดำเนินการก่อนน้ำท่วมจะเน้นติดตามการรายงานสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยติดตามกระทำใน 4 ช่องทาง คือ รอฟังการแจ้งข่าวจากเขื่อนอุบลรัตน์ การแจ้งข่าวจากอำเภอผ่านตำบลมายังหมู่บ้าน รับฟังข่าวกรมอุตุนิยมวิทยา และกรรมการหมู่บ้านช่วยกันกระจายข่าวให้ชาวบ้านรับรู้ ในการดำเนินการระหว่างเกิดน้ำท่วม ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านเรือน มีบางส่วนไปทำงานรับจ้างหรืองานอื่นๆ เพื่อหารายได้เสริม ส่วนการดำเนินการหลังน้ำท่วม ประชาชนให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือเรื่องที่นาและการซ่อมแซมบ้านเป็นสิ่งแรก เนื่องจากส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจคือเกิดความเครียดจากภาระหนี้สินที่ไปกู้ยืมมาทำนา และมีการช่วยเหลือกันภายในชุมชน โดยมีกองทุนหมู่บ้านให้กู้ยืม ความช่วยเหลือรูปแบบอื่นอย่างเช่นมีกองทุนปุ๋ย/พันธุ์ข้าว  ทั้งนี้มีการช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิดจากหน่วยงานภาครัฐ โดยมีตัวแสดงหลัก คือ จังหวัดและอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจังหวัดจะเป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแลการจัดการสาธารณภัยในภาพรวมพื้นที่เขตจังหวัด ขณะที่องค์การบริหารส่วนตำบลยางท่าแจ้ง มีบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่น และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) คอยอำนวยความสะดวกแก่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ประเด็นที่สาม ข้อเสนอแนะต่อการจัดการชุมชนภาคการเกษตรในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ในระดับครัวเรือน ควรเพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไรจากนาปรัง โดยเฉพาะการทำนาปรังในปีที่เกิดน้ำท่วมในช่วงนาปี ซึ่งถือเป็นการผลิตที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ในระดับชุมชน ควรส่งเสริมการลดความเสี่ยงเรื่องไม่มีตลาดรองรับผลผลิตข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อลดความกังวลของเกษตรกรเรื่องไม่มีตลาดรองรับ รวมถึงสร้างการเรียนรู้แก่เกษตรกรเพื่อจูงใจให้เกษตรกรมีความกล้าปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตทางการเกษตรมากขึ้น

Article Details

How to Cite
วิลาชัย ก., & อ่อนทิมวงค์ ป. (2017). การปรับตัวของครัวเรือนภาคการเกษตรในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก กรณีศึกษาตำบลยางท่าแจ้ง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Politics and Governance, 7(2), 109–131. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/156640
บท
บทความวิจัย

References

เอกสารตีพิมพ์
ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งฯ.
ทรงชัย ทองปาน. (2554). การปรับตัวของเกษตรกรทำนาในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
บุญธิดา เกตุสมบูรณ์. ผู้แปล. (2557). คู่มือการวิเคราห์ขีดความสามารถและความเปราะบางของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. แปลจาก Climate Vulnerability and
Capacity Analysis Handbook: CVCA. กรุงเทพฯ: มูลนิธิรักษ์ไทย.
ปฐมาภรณ์ บุษปธำรง. (2555). การจัดการภัยพิบัติ : ปรัชญาสวัสดิการและการประยุกต์. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 37(3), กรกฎาคม – กันยายน 2555.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ.
องค์การบริหารส่วนตำบลยางท่าแจ้ง. (2557). แผนพัฒนา 3 ปี (พ.ศ. 2557 – 2559). มหาสารคาม:สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลยางท่าแจ้ง

เว็บไซต์
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). การศึกษาโครงสร้างอาชีพและการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก
ภาคเหนือตอนล่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2557. แหล่งเข้าถึงข้อมูลhttp://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_bear/ewt_news.php?
สำนักป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557). พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2557. แหล่งเข้าถึงข้อมูล http://irw101.ldd.go.th/data/data_flo.html
สำนักป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557). พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยน้ำท่วมซ้ำซาก ประเทศไทย รายตำบล.
สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2557. แหล่งเข้าถึงข้อมูลhttp://irw101.ldd.go.th/data/data_flo.html
สำนักป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557). แผนที่น้ำท่วมซ้ำซากในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม
2557. แหล่งเข้าถึงข้อมูล http://irw101.ldd.go.th/data/images/flood-new.jpg
สุดารัตน์ คำปลิว. (2555). รูปแบบการจัดการน้ำกุดอ้อ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านโขงใหญ่ ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อวันที่
18 พฤษภาคม 2557. แหล่งเข้าถึงข้อมูล http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_baer/ewt_news.php?
มูลนิธิชีววิถี. (2555). ชุมชนกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทเรียนจากพื้นที่และข้อเสนอเชิงนโยบาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2557. แหล่งเข้าถึงข้อมูล
http://www.biothai.net/node/11294
มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย). (2556). การปรับตัวของเกษตรกรรายย่อย กรณีศึกษาบ้านขี้เหล็ก ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อวันที่
18 พฤษภาคม 2557. แหล่งเข้าถึงข้อมูล http://sathai.org/th/news/hot-issue/item/482-2014-01-15-09-40-36.html
The COMET Program. (2010). Flash Flood Early Warning System Reference Guide. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557. แหล่งเข้าถึงข้อมูล https://www.meted.ucar.edu/
Training_module.php?id=958#.VB7ExWYxW2c