แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานสายสนับสนุน ในกลุ่ม Generation Y: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

นันทนพ เข็มเพชร
พบสุข ช่ำชอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่เป็นสิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายในที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุน ในกลุ่ม “Generation Y” และ เพื่อศึกษาถึงแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานสายสนับสนุน ในกลุ่ม “Generation Y” เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การวิจัยดังกล่าว จึงได้ใช้แนวทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งเพื่อสร้างองค์ความรู้ในประเด็นของการวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้แนวทางการคัดเลือกผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ และ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบกึ่งโครงสร้าง ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้ใช้แนวทางการวิเคราะห์แบบแก่นเนื้อหาสาระสำคัญ และ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ Nvivo มาช่วยในการจัดลำดับเรียบเรียงข้อมูล และช่วยวิเคราะห์ผลข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นหลักสำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่ สิ่งเร้าภายนอก อันหมายถึง นโยบายการบริหารของผู้บริหาร, เงินเดือน, และการควบคุม แรงจูงใจที่เป็นสิ่งเร้าภายใน ประเด็นรองที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรคือสิ่งเร้าภายใน ได้แก่ ความพอใจในกระบวนการทำงาน, ความสัมฤทธิ์ผลในการทำงาน และ ความก้าวหน้าในงาน  นอกจากนี้ แนวทางที่สำคัญในการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนในกลุ่ม  “Generation Y” คือ ต้องสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีการบริหารงานที่มีความยุติธรรมจัดให้มีโครงการพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กร

Article Details

How to Cite
เข็มเพชร น., & ช่ำชอง พ. (2018). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานสายสนับสนุน ในกลุ่ม Generation Y: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Journal of Politics and Governance, 8(1), 40–63. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/123262
บท
บทความวิจัย