ความมั่นคงทางอาหาร: จากพัฒนาการเกษตรสู่เศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการแนวคิดของนโยบายด้านการเกษตรที่เกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางอาหารซึ่งพัฒนามาจากความแตกต่างด้านแนวทางการมองปัญหาในหลายมิติ แนวคิด “ความมั่นคงทางอาหาร” เน้นศึกษาการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างมีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับโลก ในขณะที่ “สิทธิทางอาหาร” ให้ความสำคัญในระดับปัจเจกชนในการเข้าถึงทรัพยากรทางการผลิต สำหรับ “อธิปไตยทางอาหาร” เป็นแนวคิดที่เชื่อมโยงมิติทางการเมือง เป็นนโยบายทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบการค้าเสรีนิยม ความเคลื่อนไหวด้านอาหารยังนำไปสู่ “แนวคิดฐานทรัพยากรอาหาร” ซึ่งพัฒนามาจากขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมด้านเกษตรกรรมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปตามความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้ที่มีบทบาทด้านเกษตรกรรมในหลายระดับ ความสำคัญของประเด็นความมั่นคงทางอาหารที่เพิ่มมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิรูปนโยบายการพัฒนาประเทศกับการจัดการระบบเกษตรของไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยไทยมุ่งส่งเสริมการพัฒนาทั้งในระดับมหภาคด้วยการบรรจุประเด็น “ความมั่นคงทางอาหาร” ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ซึ่งเป็นการเพิ่มความสำคัญแก่ความมั่นคงทางอาหารและภาคการเกษตรต่อจากการนำ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เข้าเป็นนโยบายของการพัฒนาประเทศไทยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ก่อนหน้านี้ และส่งเสริมการพัฒนาในองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้ง ระบบราชการและปัจเจกชน แนวทางดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้ไทยสามารถรับมือกับผลกระทบจากภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฎา บุญชัย และคณะ. (2550). แนวความคิดและนโยบายฐานทรัพยากร. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
จรัญ จันทลักขณา และ ลินด์ซีย์ ฟาลวีย์. (2551). เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เสริมมิตร.
ธีระ วงศสมุทร. (2554). ความพร้อมของไทยในการรับมือวิกฤติการณ์ความมั่นคงทางอาหาร. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2557, จาก http://www.thaichamber.org/userfiles/file/special(1).pdf
ภราดร ปรีดาศักดิ์ และ ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ. (2545). ห้าทศวรรษภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย. สัมมนาวิชาการ ห้าทศวรรษของแผนพัฒนาการเกษตรและการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรของไทย. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศจินทร์ ประชาสันติ์. (2552). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
โสภิณ ทองปาน. (2536). นโยบายเกษตรไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลิศชัยการพิมพ์.
อภิชาติ พงษ์หดุลชัย. (2554). ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา.
Asian Productivity Organization. (2000). Food Security in Asia and the Pacific. Japan: Tatsumi Printing.
Claeys, Priscilla. (2013). Food Sovereignty: A Critical Dialogue. Conference Paper 24, Yale University.
Dreze, Jean and Amartya, Sen. (1989). Hunger and Public Action. Oxford: Clarendon Press.
FAO. (1996). Rome Declaration on World Food Security and World Food Summit Plan of Action.World Food Summit. Retrieved October 17, 2014, from http://www.fao.org/wfs.
Mckeown, David. (2006). Food Security: Implications for the Early Years. Toronto: Toronto Public Health. Retrieved November 20, 2014, from http://www.toronto.ca/health/children/pdf/ fsbp_ch_1.pdf.
Winne, Mark. (2009). Community Food Security: Promoting Food Security and Building Healthy Food Systems. Retrieved January 5, 2015, from
http://www.foodsecurity.org/PerspectivesOnCFS.pdf.
Wittman, Hannah. (2011). Food Sovereignty: A New Rights Framework for Food and Nature?. Environment and Society: Advances in Research, 2, 87-105.