ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่: ศึกษากรณีเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายพัฒนาการว่าเหตุใดจึงเกิดการกระทำรวมหมู่ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในลักษณะของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเลือกศึกษาเฉพาะกรณีคือ "เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศไทย” ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2557 ผลการศึกษาพบว่า นโยบายของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ติดเชื้อ ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน การรังเกียจเดียดฉันท์ และการตีตรา ในด้านการพัฒนาองค์กรผู้ติดเชื้อสามารถร่วมมือในการสร้างเครือข่ายร่วมกับภาคีพันธมิตรระดมทรัพยากรและผู้เข้าร่วมการเคลื่อนไหว ทั้งความร่วมมือจากองค์กรพัฒนาเอกชน(NGO)นักวิชกาการทั้งในประเทศและต่างประเทศในลักษณะข้ามชาติ องค์กรที่อิสระจากรัฐ ข้าราชการและพรรคการเมืองเข้าร่วมกระทำการรวมหมู่ การหนุนเสริมอย่างต่อเนื่องโดยการจัดการชุมนุมเรียกร้องที่มีกรอบโครงทางการเมือง(political project)ชัดเจน การสร้างกระบวนการเรียนรู้ภายในที่ได้ผล ซึ่งแปรความเดือดร้อนเป็นการกระทำรวมหมู่ได้ ปฏิบัติการการต่อสู้ได้เริ่มจากการสร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิก ให้เข้ามาร่วมการเคลื่อนไหว พัฒนากลุ่มให้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นขนาดใหญ่ขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายแนวร่วมทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างพลังอำนาจในการต่อรองกดดันต่อรัฐบาล และบริษัทอุตสาหกรรมยาข้ามชาติ และเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนและประชาคมโลก โดยอาศัยความร่วมมือจากสื่อมวลชน ทั้งหมดพบว่า จุดหมายของขบวนการฯมีลักษณะมากไปกว่าการเรียกร้องให้แก้ไขความเดือดร้อนเฉพาะหน้าเรื่องการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์ของกลุ่มพวกตน แต่ได้สร้างศักยภาพผลักดันการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายอื่นๆ และสร้างข้อถกเถียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้องค์ความรู้ระดับสากลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ใช้แนวการวิเคราะห์ขบวนการทางสังคมในการศึกษา “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ปฏิบัติการและการระดมทรัพยากร ” สำหรับการศึกษาได้ใช้กรอบของนักวิชาการสายระดมทรัพยากรที่เป็นฐานคิดของขบวนการเคลื่อนไหว เพื่อให้เห็นการทำงานสร้างเครือข่ายของผู้ติดเชื้อ และในส่วนท้ายได้นำเสนอกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษาข้างต้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาเพื่อแสดงให้เห็นถึงที่มา ความสำคัญของปัญหาและประโยชน์ทางวิชาการที่จะได้รับจากการศึกษากรณีตัวอย่างดังกล่าว อันจะนำมาสู่การขยายขอบเขตและอุดช่องว่างทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ของไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล. (2550).ความต้องการแสวงหากําไรไม่สิ้นสุดของอุตสาหกรรมยาปรากฏการณ์ในไทยและอินเดีย,กรุงเทพฯ: องค์การหมอไร้พรมแดน-เบลเยี่ยม
นิวัตร สุวรรณพัฒนา.(2553).สิทธิทางเพศ กับหน้าที่ และความรับผิดชอบ. หนังสือพิมพ์เสียงสิทธิ
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. เชียงใหม่: มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้.
วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2552).ทุนทางสังคม: กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ:โครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Chris Lyttleton. (2000). Endangered relations: negotiating sex and AIDS in Thailand.;Amsterdam:. Harwood Academic Publishers.
DietlindStolle. (2007). “Social Capital”, in The Oxford Handbook of Political Behavior. Oxford: Oxford University Press.