การประเมินผลโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค โดยใช้ตัวแบบซิป (CIPP Model) : กรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ธณัฐญา รุดโถ
วลีรัตน์ แสงไชย
วสันต์ เหลืองประภัสร์

บทคัดย่อ

โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นโครงการที่ทำให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยได้รับการป้องกันมิให้ล้มละลายจากภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บริการสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินผลด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ในเขตอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคามและเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ในเขตอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ทั้งหมด 410 คน แบ่งเป็นผู้ให้บริการที่ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คนและผู้รับบริการจำนวน 400 คน ได้มาโดยการคำนวณประชากร จากสูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวม มี 2 แบบ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน โดยแบบประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 66 ข้อ ความเชื่อมั่นของแบบประเมิน 0.87 และการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ผู้ศึกษาใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้รับบริการ ได้ประเมินผลตามโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต มีความเหมาะสม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทั้งหมด (gif.latex?\bar{X}=3.96, gif.latex?\bar{X}=3.94, gif.latex?\bar{X}=3.95, gif.latex?\bar{X}=3.96) ตามลำดับ
2. ผู้ให้บริการ มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ด้านงบประมาณ บุคลากร ยาและเวชภัณฑ์ ยังไม่เพียงพอ สถานบริการในอำเภอนาเชือกมีความพร้อมในการดำเนินตามโครงการแต่ต้องพัฒนาระบบส่งต่อและประชาชนอำเภอนาเชือกมีหลักประกันสุขภาพร้อยละ 91.61
แนวทางในการปรับปรุงโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ในเขตอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม คือ การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคให้ตรงกัน การจัดสรรงบประมาณให้รวดเร็ว เพียงพอ ควรพัฒนากำลังคนให้ตรงกับสมรรถนะและบริบทของพื้นที่ พัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยรวมถึงการปรับปรุงการให้บริการ กิริยา มารยาทการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ ระยะเวลาในการบริการโดยเฉพาะ การตรวจ/การรอรับยา ซึ่งยังใช้เวลานาน เพราะปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ประชาชนต้องการให้ปรับปรุงแก้ไข มากที่สุด โดยสรุป โครงการนี้ดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นสมควรใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อไป

Article Details

How to Cite
รุดโถ ธ. . ., แสงไชย ว. . ., & เหลืองประภัสร์ ว. . . (2014). การประเมินผลโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค โดยใช้ตัวแบบซิป (CIPP Model) : กรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Politics and Governance, 4(1), 352–369. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/273082
บท
บทความวิจัย

References

สมคิด พรมจุ้ย. (2542). เทคนิคการประเมินโครงการ . พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี. จตุพร ดีไซน์.

สุนทร ตันมันทอง. (2553). โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.ป.ท..ม.ป.พ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2555 .พิมพ์ครั้งที่ 1.นนทบุรี.บ.วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.

Aday, L.A and R, Andersen. (1975). Development of Induce of Access to Medical Care. Michigan, Ann Arbor : Health Administration Press.