คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบรรยากาศขององค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ t- test F-test และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์โรงเรียนสาธิตมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านบรรยากาศของโรงเรียนสาธิตโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และด้านความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือเพศ อายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิตโดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่าง ยกเว้น ปัจจัยด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สังกัด พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกันและปัจจัยบรรยากาศขององค์กรทั้ง 2 ด้าน คือโครงสร้างขององค์กร และด้านเป้าหมายขององค์กรมีผลกระทบคุณภาพชีวิตการทำงาน และ ปัจจัยบรรยากาศขององค์กรทั้ง 2 ด้าน คือโครงสร้างขององค์กร และด้านเป้าหมายขององค์กรมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฑาวดี กลิ่นเฟื่อง. (2543). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลลักษณะงานและบรรยากาศองค์การ กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์ สาขาบริหารสาธารณสุข, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พราว ศาลิคุปต. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกองบัญชาการ หน่วยบัญชาการ
อากาศโยธิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.
ลัดดาวัณย์ สกุลสุข. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติ ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สมหวัง โอชารส. (2542). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตำรวจ
สำนักงานแพทย์ใหญ่ กรมตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมเดช พยัคฆ์สังข์. (2548). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต 1. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุธี สุทธิสมบูรณ์ และสมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2533). หลักการบริหารเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ประชาชน.
Angle, and J.L. Perry. (1981). “An Empirical Assc and Oganization Effectivaness”. Administrative Science Qarterly. 26 (Mrach 1981) : 1-12.
Davis, K. and J.W. Newstrom.(1989). Human Behavior At Work OrganizationalBehavior. Singapore : McGraw Hill Book Company.
Grusky, O. (1996). “Career Mobillity and Oganization Commitment”. Administrative Science Qarterly. 11(Mrach 1966) : 488-503.