การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง

Main Article Content

วิทูลย์ แก้วสุวรรณ
เกษมชาติ นเรศเสนีย์
บุญเรือง ศรีเหรัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแทนครัวเรือนใน 8 ชุมชน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 584 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยที่ด้านการมีความรู้ความเข้าใจที่อยู่ในระดับสูงสุดนั้น พบว่ามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปราชญ์ผู้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาทุกด้านที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินชีวิต ส่วนด้านความมีเหตุผลที่อยู่ในระดับต่ำสุด พบว่าชุมชนได้เห็นข้อเด่น ข้อดี  โอกาส 2. ปัจจัยการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่างในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ นั้นควรเน้นการพัฒนาและทบทวน ศึกษาให้ชัดเจนและทำเพื่อประโยชน์ในอนาคต การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการปัญหาได้ด้วยตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. แนวทางการปรับปรุงการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การมุ่งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การเกิดขึ้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ

Article Details

How to Cite
แก้วสุวรรณ ว. ., นเรศเสนีย์ เ. ., & ศรีเหรัญ บ. . (2016). การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. Journal of Politics and Governance, 6(2), 55–69. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/272857
บท
บทความวิจัย

References

ทวนชัย อรุณโรจน์1 และ เกรียงชัย ปึงประวัติ. (2557). การพัฒนากำลังคนระดับอาชีวศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้สอดรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2557.

ธนวรรธน์ พลวิชัย. (2550). ฟื้นองค์ความรู้ ฟื้นความเชื่อมั่นฟื้นความพอเพียง. ใน: เอกสาร การสัมมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 7 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. กรุงเทพฯ.

พิชิต พิทักษ์สมบัติ. (2548). การสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง: ทฤษฎี และปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสนาธรรม.

วาสนา ศรีนวลใย. (2551). การดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านนากหมู่ 5 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สกาวเดือน โพธิ์พันธ์. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการปฏิบัติตามวิธีการทำเกษตรไร้สารพิษ ของเกษตรกรทำนา ในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไสว เจริญศรี. (2551). แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้านบ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกาแพงเพชร. วิทยานิพนธ์สาขาการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2011). แผนพัฒนาฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ2555-2559. สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อภิชัย พันธเสน. (2546). การประยุกต์พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุไรวรรณ ธนสถิตย์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง การเมืองไทยในระบอบธนาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.