รูปแบบการสื่อสารภายในที่มีผลต่อความเข้าใจแผนกลยุทธ์องค์กรของบุคลากรคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Main Article Content

ไกรพล ปัญญาสุ

บทคัดย่อ

การศึกษารูปแบบการสื่อสารภายในที่มีผลต่อความเข้าใจแผนกลยุทธ์องค์กรของบุคลากร คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ การสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อความเข้าใจต่อแผนกลยุทธ์องค์กร และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ที่สัมพันธ์กับความเข้าใจต่อแผนกลยุทธ์องค์กร ของบุคลากรคณะรัฐศาสตร์ฯ รวมถึงศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการแก้ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มบุคลากรสายวิชาการ และกลุ่มบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเพื่อศึกษาเชิงลึกในปรากฎการณ์ ที่เกิดขึ้นด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสื่อสารที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจ แผนกลยุทธ์องค์กรของคณะรัฐศาสตร์ฯ อันดับที่ 1 คือการสื่อสารแบบบนลงล่าง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 ซึ่งเป็นรูปแบบการสื่อสารที่มีความสำคัญต่อการบริหารอย่างมาก เนื่องจากเป็นการถ่ายทอด แผนกลยุทธ์ไปสู่บุคลากรเพื่อให้ทราบทิศทางขององค์กร แผนกลยุทธ์ และแนวทางการดำเนินงาน ให้บุคลากรเกิดความเข้าใจและนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง และการสื่อสารภายในองค์กรจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นถ้าใช้ร่วมกับการสื่อสารรูปแบบอื่น ๆ แต่จะต้องมีเน้นย้ำและติดตามอย่างต่อเนื่อง อันดับที่ 2 คือการสื่อสารแนวไขว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 อันดับที่ 3 คือการสื่อสารแนวนอน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.10 และอันดับที่ 4 คือการสื่อสารแบบล่างขึ้นบน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.92 ส่วนประเภทของการสื่อสารนั้นทั้งผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มีความคิดเห็นตรงกันว่าการสื่อสารที่ดีที่สุดคือการสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำหรือเผชิญหน้ากันโดยใช้วาจา และการใช้สื่อสังคมออนไลน์เช่นแอปพลิเคชัน Line หรือ Facebook จะเหมาะสำหรับการเป็นช่องทาง ในการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ เพื่อการติดต่อประสานงานภายหลังจากการมีข้อสั่งการที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือติดตามงานหรือสนทนาในเรื่องทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน จากการศึกษาถึงปัญหา ในการสื่อสารภายในองค์กรพบว่าปัญหาเกิดจากผู้ส่งสารยังขาดความชัดเจนในการสื่อสารทิศทาง และแผนกลยุทธ์องค์กรส่งผลให้เกิดปัญหาในการนำไปปฏิบัติต่อของบุคลากร แต่ทั้งนี้ตัวผู้รับสารเองต้องมีทัศนคติเชิงบวกในการเปิดรับสารด้วยเช่นกัน และการที่บุคลากรของคณะฯ ไม่ทราบถึงปัญหา และสถานการณ์ที่คณะฯ กำลังเผชิญอยู่จึงทำให้ไม่เกิดความตระหนักรู้ ถึงความจำเป็นในการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กร

Article Details

How to Cite
ปัญญาสุ ไ. . (2023). รูปแบบการสื่อสารภายในที่มีผลต่อความเข้าใจแผนกลยุทธ์องค์กรของบุคลากรคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Journal of Politics and Governance, 13(3), 1–21. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/271337
บท
บทความวิจัย

References

พนิดา เกรียงทวีทรัพย์, เเละสุรมงคล นิ่มจิตต์. (2561). รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร: กรณีศึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(3).

พิริยา ศิริวรรณ. (2559). การสื่อสารภายในองค์กร (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) เรื่องที่ไม่อาจมองข้าม. เวชบันทึกศิริราช, 9(1).

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2554). การวางแผนและการประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมยศ นาวีการ. (2527). การติดต่อสื่อสารขององค์การ. บรรณกิจ.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2550). แนวคิดพื้นฐานทางการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญชาติ พรมดง, เเละคณะ. (2561). การสร้างประสิทธิภาพของการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1).