ปัจจัยทักษะทางการเงินกับการก่อหนี้นอกระบบในประเทศไทย พ.ศ. 2559

Main Article Content

ธนันต์พล ช่วงประยูร
อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านทักษะทางการเงินที่มีผลต่อปัจจัยด้านการก่อหนี้นอกระบบ รวมถึงอธิบายความสัมพันธ์ปัจจัยภายในด้านทักษะทางการเงินซึ่งได้แก่ ด้านความรู้ทางการเงิน, ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้านทัศนคติทางการเงินที่ส่งผลต่อปัจจัยภายในปัจจัยด้านการก่อหนี้นอกระบบซึ่งได้แก่ ปริมาณหนี้นอกระบบ, มูลหนี้นอกระบบเฉลี่ยต่อราย และจำนวนประชากรที่มีหนี้นอกระบบ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทยปี พ.ศ. 2559 ของธนาคารแห่งประเทศไทย และโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี พ.ศ. 2559 ของกระทรวงการคลังนำมาวิเคราะห์สถิติเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านทักษะทางการเงินซึ่งประกอบไปด้วย ความรู้ทางด้านการเงิน, พฤติกรรมทางด้านการเงิน และทัศนคติทางด้านการเงิน ไม่ได้มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อปัจจัยการก่อหนี้นอกระบบซึ่งประกอบไปด้วย ปริมาณหนี้นอกระบบ, มูลหนี้นอกระบบเฉลี่ยต่อราย, จำนวนประชากรที่มีหนี้นอกระบบ ความสัมพันธ์ภายในของปัจจัยด้านทักษะทางการเงินนั้นคะแนนความรู้ทางการเงินมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางการเงินกล่าวคือ ถ้าจังหวัดที่มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ทางการเงินสูงจะส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมทางการเงินสูงขึ้นตาม ความสัมพันธ์ภายในของปัจจัยการก่อหนี้นอกระบบนั้นประชากรที่มีหนี้นอกระบบมีความสัมพันธ์กับปริมาณหนี้นอกระบบ และมูลหนี้นอกระบบเฉลี่ยต่อราย กล่าวคือ เมื่อจังหวัดที่มีประชากรที่มีหนี้นอกระบบเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลทำให้ปริมาณหนี้นอกระบบ และมูลหนี้นอกระบบเฉลี่ยต่อรายเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

Article Details

How to Cite
ช่วงประยูร ธ., & วงศ์ปรีดี อ. (2023). ปัจจัยทักษะทางการเงินกับการก่อหนี้นอกระบบในประเทศไทย พ.ศ. 2559. Journal of Politics and Governance, 13(2), 20–37. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/264884
บท
บทความวิจัย

References

Abreu, M., & Mendes, V. (2010). Financial literacy and portfolio diversification. Quantitative finance, 10(5), 515-528.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational behavior and human decision processes, 50(2), 179-211.

Ameliawati, M., & Setiyani, R. (2018). The influence of financial attitude, financial socialization, and financial experience to financial management behavior with financial literacy as the mediation variable. KnE Social Sciences, 811–832-811–832.

Disney, R., & Gathergood, J. (2013). Financial literacy and consumer credit portfolios. Journal of Banking & Finance, 37(7), 2246-2254.

Finance, M. o. (2019). Microfinancial Inclusion Map. Retrieved from https://1359.go.th/mim/source/www/list.php?fbclid=IwAR3DLuS_AU_ oiuUxcss_XUkSy4WuecrV05GgryOBREi957UojOfUmMioVU8

French, D., & McKillop, D. (2016). Financial literacy and over-indebtedness in low-income households. International Review of Financial Analysis, 48, 1-11.

Hung, A., Parker, A. M., & Yoong, J. (2009). Defining and measuring financial literacy.

Lusardi, A., & Mitchell, O. S. (2014). The economic importance of financial literacy: Theory and evidence. Journal of economic literature, 52(1), 5-44.

Lusardi, A., & Tufano, P. (2015). Debt literacy, financial experiences, and overindebtedness. Journal of Pension Economics & Finance, 14(4), 332-368.

Mudzingiri, C., Muteba Mwamba, J. W., & Keyser, J. N. (2018). Financial behavior, confidence, risk preferences and financial literacy of university students. Cogent Economics & Finance, 6(1), 1512366.

Norvilitis, J. M., Merwin, M. M., Osberg, T. M., Roehling, P. V., Young, P., & Kamas, M. M. (2006). Personality factors, money attitudes, financial knowledge, and credit-card debt in college students 1. Journal of applied social psychology, 36(6), 1395-1413.

Perry, V. G., & Morris, M. D. (2005). Who is in control? The role of self-perception, knowledge, and income in explaining consumer financial behavior. Journal of consumer affairs, 39(2), 299-313.

Rajna, A., Ezat, W. S., Al Junid, S., & Moshiri, H. (2011). Financial management attitude and practice among the medical practitioners in public and private medical service in Malaysia. International Journal of Business and Management, 6(8), 105.

Schwab, C., Iannicola Jr, D., Beck, T., Hira, T., Bryant, J. H., Parker, J., . . . Dawson, C. (2008). President’s advisory council on financial literacy. Annual Report to the President. Washington: The department of the treasury.

Stango, V., & Zinman, J. (2009). Exponential growth bias and household finance. The Journal of Finance, 64(6), 2807-2849.

Thailand, B. O. (2018). Financial Literacy Survey Report: 2018 Results. Retrieved from ศรี, ร. ฤ. บ., & ธรรม, อ. ศ. ว. ณ. ป. ส. (2020). ศึกษาสาเหตุการเกิดหนี้นอกระบบของ กลุ่มคนฐานราก (กรณี ศึกษา: หนี้ นอก ระบบ ธนาคารออมสิน สาขา สงขลา). Paper presented at the Rangsit Graduate Research Conference: RGRC.