กระบวนการบ่มเพาะความรุนแรงและการแสวงหาสมาชิกของกลุ่มก่อความไม่สงบ: กรณีศึกษากลุ่ม BRN

Main Article Content

กุลนันทน์ คันธิก
สุรชาติ บำรุงสุข
ฉัตรพงศ์ ฉัตราคม
ศรินทร สุวรรณพงศ์
ศิบดี นพประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบ่มเพาะและการแสวงหาสมาชิกของแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani: BRN หรือ Patani Malay National Revolutionary Front) โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้ทั้งการสำรวจเอกสาร การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางการเคลื่อนไหวของกลุ่ม BRN มีการปรับยุทธศาสตร์จากการใช้แผนบันได 7 ขั้นไปสู่ยุทธศาสตร์การต่อสู้ครั้งใหม่ ที่มุ่งเน้นการต่อสู้ทางการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะแนวทางการเจรจาสันติภาพในเวทีโลก เพื่อเอกราชที่สมบูรณ์ 2) ในขั้นการชักชวนและคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมขบวนการ จะมีสมาชิกของขบวนการทำหน้าที่เป็นผู้เก็งตัวและชักชวนเยาวชนที่มีบุคลิกลักษณะดี เรียนดี ความประพฤติเรียบร้อย และมีความเป็นผู้นำ 3) ในขั้นการบ่มเพาะแนวคิดและอุดมการณ์ ด้วยการตอกย้ำเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการปลูกฝังอุดมการณ์ชาตินิยม และการฝึกทางทหาร 4) ในขั้นการวางแผนและปฏิบัติการ โดยเฉพาะบุคคลที่ผ่านการฝึกทางทหารแล้ว จะต้องออกปฏิบัติการ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีคดีและป้องกันไม่ให้หนีออกจากขบวนการ ส่วนสุดท้ายของบทความจะนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐ

Article Details

How to Cite
คันธิก ก., บำรุงสุข ส., ฉัตราคม ฉ. ., สุวรรณพงศ์ ศ. ., & นพประเสริฐ ศ. . (2023). กระบวนการบ่มเพาะความรุนแรงและการแสวงหาสมาชิกของกลุ่มก่อความไม่สงบ: กรณีศึกษากลุ่ม BRN . Journal of Politics and Governance, 13(1), 1–24. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/264481
บท
บทความวิจัย

References

สุรชาติ บำรุงสุข. (2551). การก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย. กรุงเทพฯ: โครงการความมั่นคงศึกษา.

Achsin, M. Z. (2019). “Culture and Role of Woman in Terrorism in Indonesia. Case Studies: Suicide Bombings in Surabaya and Sibolga”. International Journal of Engineering and Advanced Technology (JIEAT), 8(5C), 873–876.

Borum, R. (2003). “Understanding the Terrorist Mindset," FBI Law Enforcement Bulletin, 72(7). https://scholarcommons.usf.edu/cgi/viewcontent. cgi?article=1227&context=mhlp_facpub.

Braddock, K.V. (2020). Weaponized Words: The Strategic Role of Persuasion in Violent Radicalization and Counter-Radicalization. Cambridge: Cambridge University Press.

Droogan, J., Waldek, L. & Blackhall, R. (2018). Innovation and Terror: An Analysis of the Use of Social Media by Terror-related Groups in the Asia Pacific. Journal of Policing, Intelligence and Counter Terrorism, 13(2), 170-184.

Gottlieb, S. (ed.). (2014). Debating Terrorism and Counterterrorism: Conflicting Perspectives on Causes, Contexts, and Responses (2nd Ed.). Los Angeles: CQ Press.

Gray, C. S. (2007). War, Peace and International Relations: An Introduction to Strategic History. New York: Routledge.

Kraft, M. B. & Marks, E. (2018). U.S. Counterterrorism: From Nixon to Trump: Key Challenges, Issues, and Responses. Florida: CRC Press.

Martin, G. (2018). Understanding Terrorism: Challenges, Perspectives, and Issues. Los Angeles, CA: SAGE.

Martin, C. A. and Prager, F. (2019). Terrorism: An International Perspective. Los Angeles: Sage.

Moghaddam, F. M. American Psychologist. The Staircase to Terrorism: A Psychological Exploration, 60(2), 2 (February–March 2005), https://doi.org/10.1037/0003-066X.60.2.161.

Moskalenko, S. & McCauley, C. (2020). Radicalization to Terrorism: What Everyone Needs to Know. New York: Oxford University Press.

Neumann, P. R. (2013). The Trouble with Radicalization. International Affairs, 89(4), 873-893.

Nuraniyah, N. (2018). Not Just Brainwashed: Understanding the Radicalization of Indonesian Female Supporters of the Islamic State. Terrorism and Political Violence, 3(6), 890–910.

Nuraniyah, N. (2019). The Evolution of Online Violent Extremism in Indonesia and the Philippines. London: The Royal United Services Institute for Defence and Security Studies.

Rahmah, U. (2020). Women in Jihad. Counter Terrorist Trends and Analyses, 12(4), 21–26.

Sultan, Oz. (2017). Combatting the Rise of ISIS 2.0 and Terrorism 3.0. The Cyber Defense Review, 2(3), 41-50.