การประยุกต์ใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในการควบคุมเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในคดียาเสพติด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตลอดจนเสนอรูปแบบ
และวิธีการประยุกต์ใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา รวมถึงเสนอแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมเด็กและเยาวชน
ที่กระทำความผิดในคดียาเสพติด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย สหวิชาชีพ ได้แก่ นักจิตวิทยา นักสังคมสังเคราะห์ นอกจากนั้นยังมีผู้แทนชุมชน พนักงานสอบสวน อัยการ ผู้พิพากษาสมทบ
เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า การประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน ได้ดำเนินการในรูปแบบที่เป็นคณะกรรมการ โดยการประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือในการแสวงหาแนวทางในการระงับข้อพิพาทตามแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ซึ่งเป็นมาตรการทางเลือกที่ใช้ในกระบวนจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูในคดีที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเด็กและเยาวชนสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้องคดี
เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนความประพฤติของเด็กหรือเยาวชน การบรรเทาผลร้าย ทดแทนหรือชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ จะมุ่งเน้นการคุ้มครองประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ สำหรับมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา นั้น เป็นการหันเหคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดในชั้นก่อนฟ้องคดีและในชั้นการพิจารณาคดีตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
Article Details
References
ธนภัทร ปัจฉิมม์ และคณะ. (2562). ผลสัมฤทธิ์กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
นัทธี จิตสว่าง. (2555). วัตถุประสงค์ในการลงโทษ. สืบค้นจาก https://www.gotoknow .org/posts/454719.
นิศรา รัตนเกียรติกานต์. (2558). มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา: ศึกษาการมีส่วนร่วม
ของผู้แทนชุมชนในการจัดทำแผนแก้ไขฟื้นฟูในชั้นก่อนฟ้อง. คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปุณยวัจน์ ไตรจุฑากาญจน์. (2562). มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญากับการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม, สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(2). คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรัสวดี กัลยาสิทธิ์. (2558). มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในคดียาเสพติด. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อภิรดี โพธิ์พร้อม. (2550). ปัญหาความไม่เสมอภาค ในกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนได้รับ. กรุงเทพฯ:ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2550). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก. กรุงเทพมหานคร.
Andrew Becrof. (2015). It’s All Relative: The Absolute Importance of the Family in Youth Justice (A New Zealand Perspective). Retrieved from http://www.courtsofnz.govt.nz.
Barnard, C.I. (1968). Organization and management. (Massachusetts: Harvard University, 1968), p.92-102.