การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง กับการขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้ถกเถียงให้เห็นว่า การพัฒนาประชาธิปไตยและการพัฒนาเศรษฐกิจทั่วโลก กำลังเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างรุนแรง ซึ่งในปัจจุบันสังคมไทยกำลัง ประสบปัญหานี้อย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมีหลายมิติ แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยเชิงสาเหตุหลักพบว่า มีอยู่สองประการคือ หนึ่ง เกิดจากปัญหา เชิงโครงสร้างของสังคมไทย สอง เกิดจากข้ออ่อนของพื้นฐานวัฒนธรรมทางการเมืองไทย และพฤติกรรมของผู้คนในสังคม ทั้งสองส่วนนี้มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน ทำให้สังคมไทย ติดกับดักอยู่กับความเหลื่อมล้ำมายาวนาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐไทยได้พยายามลด ความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคม แต่ผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหายังไม่ ประสบผลสำเร็จ ยังเป็นเพียงแนวนโยบายและแผนงาน ไม่มีผลในทางปฏิบัติจริงใด ๆ บทความนี้ ได้ทดลองเสนอทางออกในการขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมมิติสังคมวิทยาการเมือง ด้วยการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองหรือแบบใหม่ โดยผ่านองค์กรและสถาบัน ทางสังคมต่าง ๆ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่นี้ ประชาชนต้องมีความเชื่อมั่นในการมีสมรรถนะทางการเมืองของตนเอง และต้องมีแนวความคิดความเชื่อในเบื้องต้นว่า ประการแรก การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นหน้าที่หลักของทุกคนที่จะต้องเอาใจใส่ และมีความรับผิดชอบร่วมกันในการผลักดันหรือเข้าไปดำเนินการ จะปฏิเสธความรับผิดชอบของตนหาได้ไม่ ประการที่สอง ประชาชนต้องเชื่อว่าตนเองเป็นพลังทางสังคมการเมืองอย่างหนึ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันทางสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ และต้องเข้าไป มีส่วนร่วมในปฏิบัติการเพื่อเป็นพลังผลักดันให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ อย่างจริงจังต่อไป
Article Details
References
กมล กมลตระกูล. (2563). ความยากจนทางโครงสร้าง (Structure Poverty). สืบค้นจาก http://sociallistthai.com
ไกรยส ภัทราวาท. (2561). ไทยจะลงจาก top 3 ประเทศที่เหลื่อมล้ำที่สุดในโลกได้อย่างไร?. สืบค้นจาก http://www.eef.or.th
คณะกรรมการปฏิรูป. (2554). แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย: ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: หจก.บางกอกบล็อก.
จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์. (2561). ความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม.สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/19896.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช และคณะ. (2553). วัฒนธรรมพลเมือง.วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,11(22), 7 - 10.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2543). ประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2546). วัฒนธรรมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2555). การเมืองไทย: ระบบที่ไม่มีสูตรสำเร็จรูปในการแก้ไขปัญหา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2553). ไปดู Civic Education ที่เยอรมัน (ตอนที่ 3) มนุษย์ไม่มียีนประชาธิปไตยในตัวเอง. สืบค้นจาก http://www.fpps.or.th
ประมวล รุจนเสรี. (2551). ปฏิวัติวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: พรรคประชามติ.
ประเวศ วะสี. (2562). ความเหลื่อมล้ำในโครงสร้างอำนาจรัฐ ในสถาบันพระปกเกล้า. ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย. การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2556). สังคมวิทยาการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2557 ก.). วัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ, 1(1), 83 - 91.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2557 ข.). การพัฒนาประชาธิปไตยกับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย. รัฐสภาสาร, 62(7), 9 - 44.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2558). ปฏิรูปการเมืองไทยด้วยการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย: สู่เส้นทางใหม่ที่ดีกว่า. รัฐสภาสาร, 63(11), 9 - 34.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2559). ก้าวข้ามให้พ้นกับดักการพัฒนาประชาธิปไตยไทยด้วยการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย: สู่เส้นทางใหม่ที่ยั่งยืนกว่า.วารสารร่มพฤกษ์, 34(1),12 - 40.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด และคณะ. (2562). เครือข่ายกลุ่มอิทธิพลกับการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษา: กรณีการทุจริตคอร์รัปชันจากโครงการก่อสร้างสนามฟุตซอลและสหกรณ์ออมทรัพย์ครู. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 17(3), 114 -134.
ลมเปลี่ยนทิศ. (2562, 21 พฤศจิกายน). ทำ QE อัดฉีดในประเทศ. ไทยรัฐ, หน้า 5.
วิทยากร เชียงกูล. (2561). ปฏิรูปประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznewss. com/blog/detail/646151
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2554). พจนานุกรมอังกฤษ - ไทย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.
วรัญญา ศรีริน, และพรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2562). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองกับการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในสถาบันพระปกเกล้า. ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย. การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 21. (148 - 166).กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
วิชัย ตันศิริ. (2551). วัฒนธรรมพลเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
สมชัย จิตสุชน. (2561). ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย: แนวโน้ม นโยบายและแนวทางขับเคลื่อนนโยบาย. สถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
สมชัย จิตสุชน. (2563). ความเหลื่อมล้ำ 2020: เรารู้อะไร เราควรรู้อะไร. สืบค้นจาก TDRI.or.th/2020/01/.
สถาบันพระปกเกล้า. (2562). จดหมายข่าวประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 หัวข้อ “ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สถาบันพระปกเกล้า. (2562). หลักการและเหตุผลการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 ประจำปี 2562 เรื่อง ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย. สืบค้นจาก http://www.kpi.ac.th/
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ: บริษัท บี.ซี.เพรส (บุญชิน) จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานการวิเคราะห์สถานการณความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2555. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th/
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิดัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). ความเป็นพลเมืองดิจิทัล: พลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://thaidigizen.com/contact/
Almond, G. A. & Verba, S. (1963). The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Fives Nations. Boston: Little, Brown & Company.
Almond, G. A. & Verba, S. (1965). The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Fives Nations. Boston : Little, Brown & Company.
Almond, G. A. & Verba, S. (1980). The civic Culture Revisited. Boston, MA: Little, Brown.
Inglehart, F.R. & Wayne, E. B. (2000). Modernization, Cultural Change, and the Persistence of Traditional Values.American Sociological Review, 65(1), 19 - 51.