ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ กรณีศึกษาการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรางเบาในเขตเมืองขอนแก่น

Main Article Content

อนิลทิตา จันทร์เทพ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของแนวคิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) 2) ศึกษาประสบการณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในการนำแนวคิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) มาใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมือง และ 3) วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของมาตรการ ทางกฎหมายที่มีผลต่อการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรางเบาในเขตเมืองขอนแก่น จากการศึกษาพบว่า แนวคิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) สามารถแก้ปัญหา การขาดงบประมาณลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลดการพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลกลาง และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบริการสาธารณะได้ แต่การนำแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้กับกรณีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรางเบาในเขตเมืองขอนแก่นพบว่า มีปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดบางประการที่ทำให้โครงการเกิดความล่าช้า เช่น การอนุมัติจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาล การกำกับดูแลบริษัทจำกัดของเทศบาล การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนั้น การใช้แนวคิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) ควรอยู่ภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนที่เหมาะสมและมีกฎหมายแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกในการร่วมลงทุนระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน

Article Details

How to Cite
จันทร์เทพ อ. . (2022). ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ กรณีศึกษาการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรางเบาในเขตเมืองขอนแก่น. Journal of Politics and Governance, 12(2), 74–97. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/263106
บท
บทความวิจัย

References

กรมธนารักษ์. (ม.ป.ป.). การใช้ที่ราชพัสดุทางด้านเศรษฐกิจ. สืบค้นจาก https://www.treasury.go.th/th/management-of-the-palace/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQ1NDI=

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2555). คำอธิบายกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ดวงมณี เลาวกุล. (2555). การปฏิรูปการกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น. ชุดหนังสือการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เปนไท.

เดวิด ฮาร์วี. (2555). ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (ภัควดี วีระภาสพงษ์ และคณะ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

ภัชณภา จันทร์อาภาส. (2560). การจัดตั้งหน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2). 93-120.

ภัทรภรณ์ หิรัญวงศ์, วัชรพงศ์ รัชตเวลชกุล, ปุญญชิชญ์ เศรษฐสมบูรณ์ และภัทรียา นวลใย. (ม.ป.ป.). Smart City มิติใหม่ของการพัฒนาเมือง Case Study: ขอนแก่นโมเดล. ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/RegionalEconomy/Documents/smart_city_KhonKaenModel.pdf

แมนเฟร็ด บี สเตเกอร์ และรวี เค รอย. (2559). เสรีนิยมใหม่: ความรู้ฉบับพกพา(วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ openworlds.

ระพีพรรณ คำหอม. (2557). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2548). ฉันทามติวอชิงตัน. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุมธำรงนาวาสวัสดิ์ ชั้น 3 อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล.

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย, สุริยานนท์ พลสิม, และพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2562). ขอนแก่นโมเดล: Khon Kaen Model. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2533). การก่อตั้งหรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดขององค์กรปกครองท้องถิ่น. วารศาสตร์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(2). 141-150. สืบค้นจาก http://www.tulawcenter.org/sites/default/files/Nitisat%20Journal%20Vol.20%20Iss.2.pdf

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (ม.ป.ป.). สัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://www.ppp.sepo.go.th/project/view/56

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน. สืบค้นจาก http://www.ppp.sepo.go.th/contents/4

หนังสือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ที่ กค 0820.2/5628 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2562

Asian Development Bank. (2006). Public-Private Partnership Handbook. Manila: Asian Development Bank.

Geert Dewulf, Anneloes Blanken, & Mirjam Bult-Spiering. (2012). Strategic Issues in Public-Private Partnerships (2 nd ed.). West Sussex, UK: John Wiley & Sons.

James Leigland. (2018). Public-Private Partnerships in Developing Countries: The Emerging Evidence-based Critique. The World Bank Research Observer, 33 (1), 103–134. Retrieved from https://doi.org/10.1093/wbro/lkx008

Mirjam Bult-Spiering, & Geert Dewulf. (2006). Strategic Issues in Public–Private Partnerships: An international perspective. United States: Blackwell Publishing Ltd.

The World Bank. (2000). Study on Urban Transport Development Final Report. Retrieved from http://siteresources.worldbank.org/INTURBANTRANSPORT/Resources/ut_development_padeco.pdf

Tony Butcher. (2002). Delivering Welfare (2 nd ed.). Buckingham: Open University Press.