พฤติกรรมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

กฤษฎา พรรณราย
นิติ มณีกาญจน์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องพฤติกรรมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบรรยากาศการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในปี พ.ศ. 2562 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 3) เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน 5) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 6) เพื่อศึกษาการย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสำรวจทบทวนเอกสาร การสังเกตแบบ มีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจาก ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ลงสมัครมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากการไม่ได้เลือกตั้งเป็นเวลานานและการใช้ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม แต่ไม่ได้ มีบรรยากาศการแข่งขันที่รุนแรง 2) วิธีการหาเสียงของผู้ลงสมัครไม่เปลี่ยนจากเดิม พบการใช้ สื่อออนไลน์มาช่วยหาเสียง ไม่พบการโจมตีให้ร้ายระหว่างผู้สมัครด้วยกัน 3) เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นกลางและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ 4) พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ยังคงมีความนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์ 5) ประชาชนมีทัศนคติ ในเชิงลบต่อการใช้เงินซื้อเสียง แต่พบการจูงใจแบบอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินอยู่บ้าง 6) ประชาชนมองว่า การย้ายพรรคการเมืองและการส่งคนในตระกูลของนักการเมืองเก่าลงสมัครเป็นเรื่องปกติและ ส่งผลดีเพราะทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น แต่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนมากที่สุดคือพรรคการเมือง ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างความเข้าใจในระบบ การเลือกตั้งแบบใหม่แก่ประชาชนและควรมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเลือกตั้งให้มากกว่านี้

Article Details

How to Cite
พรรณราย ก. ., & มณีกาญจน์ น. . (2022). พฤติกรรมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Politics and Governance, 12(2), 35–51. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/263104
บท
บทความวิจัย

References

ชวน เพชรแก้ว และคณะ. (2558). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา, สถาบันพระปกเกล้า.

รัชกรณ์ นภาพรพิพัฒน์. (2534). แบบแผนการลงคะแนนเสียงชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตชุมชนหนาแน่น เขต 2 กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์, สาขาวิชาการปกครอง. กรุงเทพฯ.

รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์. (2553). นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Held, David. (1995). Democracy and the Global Order: from the modern state to cosmopolitan governance. Cambridge: Polity Press.

Downs, Anthony. (1957). An Economic Theory of Democracy. New York: Harperr & Row.

Neimi, Richard G. & Weisberg, Herbert F. (1984). Controversies in American Voting Behavior. Washing D.C.: A Division of Congressional Quarterly Inc.

บทสัมภาษณ์

ประเวศ ไทยประยูร. (2562, 4 มิถุนายน). รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ศูนย์ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี. [บทสัมภาษณ์].

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1. (2562, 15 มกราคม). หมู่บ้านภูเก็ตการเคหะ, สุราษฎร์ธานี, แบบเครื่องมือวิจัยก่อนการเลือกตั้ง. [บทสัมภาษณ์].

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1-6. (2562. มกราคม-กุมภาพันธ์). เขตเลือกตั้งที่ 1-6, สุราษฎร์ธานี, แบบเครื่องมือวิจัยก่อนการเลือกตั้ง. [บทสัมภาษณ์].

ศรัณยู อาทิตยศรัญยากร. (2562, 4 มิถุนายน). ผู้อำนวยการคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี. [บทสัมภาษณ์].