แนวคิดอิสลามกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอัลกุรอาน

Main Article Content

สามารถ ทองเฝือ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดอิสลามกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ถูกระบุไว้ในอัลกุรอานและเพื่อจำแนกหมวดหมู่ของโองการอัลกุรอานที่กล่าวถึงความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพอาศัยการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศและการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการเลือกผู้ให้สัมภาษณ์แบบเจาะจงนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจำนวนสี่ท่านได้แก่ด้านรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์อิสลาม มุสลิมศึกษาและกระแสโลกปัจจุบัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาแยกเป็นหมวดหมู่ทำการวิเคราะห์แล้วสรุปเป็นหลักการและหาความเชื่อมโยงของข้อมูล โดยอาศัยการวิเคราะห์แบบอุปนัยจากผู้ให้สัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดอิสลามกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ถูกระบุไว้ในอัลกุรอานนั้นเป็นเพียงการกล่าวถึงหลักการกว้าง ๆ มิได้กล่าวไว้อย่างละเอียดซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้คือแนวคิดเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี ความร่วมมือระหว่างรัฐ ความยุติธรรมและความเสมอภาคและการเจรจาเพื่อป้องกันสงคราม ถึงแม้ว่าในอัลกุรอานนั้นมิได้ระบุและกล่าวถึงโดยตรงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแต่เราสามารถใช้อัลกุรอานมาเป็นต้นแบบและยึดแนวคิดทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมได้ อัลกุรอานนั้นมิได้ระบุและกล่าวถึงโดยตรงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่เราสามารถใช้อัลกุรอานเป็นต้นแบบและยึดแนวคิดทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมได้

Article Details

How to Cite
ทองเฝือ ส. (2023). แนวคิดอิสลามกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอัลกุรอาน. Journal of Politics and Governance, 13(2), 240–258. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/261677
บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). ความรู้ศาสนาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรัญ มะลูลีม. (2541). เอเชียตะวันตกศึกษา: ภาพรวมทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรัญ มะลูลีม. (2555ก). อิสลามการเมืองในการเมืองตะวันออกกลาง. กรุงเทพฯ: ศยาม.

จรัญ มะลูลีม. (2555ข). OIC องค์การมุสลิมโลกในโลกมุสลิม. กรุงเทพฯ: ศยาม.

จุฑาทิพ คล้ายทับทิม. (2551). หลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เดโช สวนานนท์. (2545). พจนานุกรมศัพท์การเมือง. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

บูฆอรี ยีหมะ. (2559). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บูธ, เคน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้ [International Relations: All That Matters] (จันจิรา สมบัติพูนศิริ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

มยุรา วงษ์สันต์. (2546). รู้จักอิสลาม. กรุงเทพฯ: สภายุวมุสลิมโลก สำนักงานประเทศไทย.

เมาดูดี, เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา. (2558ก). ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมายอัลกุรอาน, เล่ม 1. [Tafheem-ul-Quran, vol I] (บรรจง บินกาซัน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม.

เมาดูดี, เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา. (2558ข). ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมายอัลกุรอาน, เล่ม 2. [Tafheem-ul-Quran, vol II] (บรรจง บินกาซัน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม.

เมาดูดี, เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา. (2553). ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมายอัลกุรอาน, เล่ม 3. [Tafheem-ul-Quran, vol III] (พิมพ์ครั้งที่ 2) (บรรจง บินกาซัน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม.

เมาดูดี, เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา. (2555ก). ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมายอัลกุรอาน, เล่ม 4. [Tafheem-ul-Quran, vol IV] (บรรจง บินกาซัน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม.

เมาดูดี, เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา. (2555ข). ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมายอัลกุรอาน, เล่ม 5. [Tafheem-ul-Quran, vol V] (บรรจง บินกาซัน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม.

เมาดูดี, เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา. (2555ค). ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมายอัลกุรอาน, เล่ม 7. [Tafheem-ul-Quran, vol VII] (บรรจง บินกาซัน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม.

ศราวุฒิ อารีย์. (2550). การก่อการร้าย: มุมมองของโลกอิสลาม. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สามารถ ทองเฝือ. (2562). อิสลามกับการเมือง. ปัตตานี: ปาตานีฟอรั่ม.

สัญญา ชีวะประเสริฐ. (2564). อารยธรรมอิสลามกับความขัดแย้งในตะวันออกกลางในทรรศนะของแซมมวล ฮันทิงตันและเอ็ดเวิร์ด ซาอิด. วารสารประวัติศาสตร์, 45, 175-188.

หะซัน อัลบันนา. (2547). อิสลามวิถีแห่งสันติ [Peace in Islam] (ซุฟอัม อุษมาน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ:

อิสลามิคอะเคเดมี.

อณัส อมาตยกุล. (2561). พินิจคำสอน ประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม. กรุงเทพฯ: นัทชาพริ้นติ้ง.

อณัส อมาตยกุล. (2564, 28 พฤษภาคม). อดีตอาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[บทสัมภาษณ์].

อานิส พัฒนปรีชาวงศ์. (2564, 20 มีนาคม). ผู้อำนวยการสถาบันอิสลามและภาษาอาหรับ [บทสัมภาษณ์].

อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา. (2547). อิสลามศาสนาแห่งสันติภาพ [Islam: The religion of peace] (ซุฟอัม อุษมาน, ผู้แปล). ปัตตานี: มัจลิสอิลมีย์ปัตตานี.

อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา. (2564, 30 มีนาคม). อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี [บทสัมภาษณ์].

อุดม บัวศรี. (2541). ศาสนา: พัฒนาการแห่งประวัติศาสตร์มนุษย์. วารสารมนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์, 16(1), 51-69.

Abo-kazleh, M. (2006). Rethinking international relations theory in Islam: Toward a more adequate approach. Alternatives: Turkish Journal of International Relations, 5(4), 41-56.

Abusulaiman, A. (1993). Toward an Islamic theory of international relations: New directions for methodology and thought. Virginia: International Graphics.

Agarwal, C. (1997). Political theory: Principles of political science (8th ed). New Delhi: S. Chand & Company Ltd.

Hamid, A. (2011). Public international law: A practical approach (3rd ed). Kuala Lumpur: Sweet and Maxwell Asia.

Istanbuli, Y. (2001). Diplomacy and diplomatic practice in the early Islamic era. Oxford: Oxford University Press.

Khadduri, M. (1966). The Islamic law of nations: Shaybani's Siyar. Maryland: The Johns Hopkins Press.

Mohseni, P. (2013). The Islamic awakening: Iran’s grand narrative of the Arab uprisings, Middle East brief 71. Retrieved from https://www.brandeis.edu/crown/publications/middle-east-briefs/pdfs/1-100/meb71.pdf

Wang, Y. (2009). Diplomacy: Theory and practice in Islam. Kuala Lumpur: IIUM Press.