การเมืองเรื่องพื้นที่ในสนามช้างอารีน่า จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเมืองเรื่องพื้นที่ในสนามช้างอารีน่าจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งศึกษาในสามประเด็น คือ ประเด็นที่หนึ่งการเมืองเรื่องพื้นที่ทางกายภาพ ประเด็นที่สองการเมืองเรื่องพื้นที่ทางจินตนาการ และประเด็นที่สามการเมืองเรื่องพื้นที่ทางสังคม การวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และเดินสำรวจพื้นที่สนามช้างอารีน่า ผลการศึกษาพบว่า การเมืองเรื่องพื้นที่ทางกายภาพ นำกระแสวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เมืองบุรีรัมย์มาสร้างพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ การวางรูปแบบพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว สร้างสนามฟุตบอลผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบเก่าและทันสมัย ตลาดบุรีรัมย์คาสเซิล เป็นพื้นที่ตลาดสะท้อนวิถีชีวิตชุมชนบุรีรัมย์ สวนศิวะ 12 เป็นพื้นที่ความเชื่อเรื่องพระเจ้าและเพศศึกษา ปราสาทพนมรุ้งจำลอง เป็นพื้นที่ความเชื่อพระพุทธศาสนา และสนามแข่งรถทางเรียบชิงแชมป์โลก ส่วนการเมืองเรื่องพื้นที่ทางจินตนาการ รื้อฟื้นความเชื่อศาสนาและประวัติศาสตร์เมืองบุรีรัมย์ขึ้นมาใหม่ นำปราสาทพนมรุ้งมาสร้างสรรค์ตราสโมสรและสนามฟุตบอลบุรีรัมย์ เกิดวาทกรรมซ่อนเร้น รื้อฟื้นอุดมคติทางสังคมขึ้น ด้วยการสร้างสนามช้างอารีน่าและสนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต การเมืองเรื่องพื้นที่ทางสังคม คือการสร้างลานกีฬาออกกำลังกายและบริเวณร้านอาหาร เพื่อใช้เป็นพื้นที่ให้กับคนบุรีรัมย์และนักท่องเที่ยวได้ใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับพ่อค้า แม่ค้าอีกด้วย
Article Details
References
ชนุตร์ นาคทรานันท์. (2560). พื้นที่การเมือง: การไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา มศว, 31(1), 94, 178, 188.
ชวิตรา ตันติมาลา. (2560). พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม. วารสารบรรณศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ, 10(1), 94.
ธีรยุทธ บุญมี. (2548). สู่ทศวรรษที่ 7 ปฏิวัติ 2475/สถาปนา มธก. 2477 ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
นราธิป ตรีเจริญ และคณะ. (2559). กีฬากับความรัก เอกลักษณ์ และการพัฒนาท้องถิ่นของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. วารสารวิจัยและพัฒนา สาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 281-294.
เนวิน ชิดชอบ. (2559). “เนวิน” แจงหลังถูกชาวเน็ตวิจารณ์นำรูปปั้นกามสูตมาตั้งในสวนสุขภาพชี้เป็นสิ่งแปลกใหม่. สืบค้นจาก MGR online https://mgronline.com/local/ detail/9590000016024
นิศา ชัชกุล. (2551). อุตสาหกรรมการทองเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2559). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า: แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
บงกชรัตน์ เตชะไตรศักดิ์. (2554). ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุภางค์ จันทวานิช. (2555). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2559). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดบุรีรัมย์. เอกสารอัดสำเนา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2563). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดบุรีรัมย์. เอกสารอัดสำเนา.
สมมาตร์ ผลเกิด. (2555). หนังสือรายวิชาท้องถิ่นศึกษา กลุ่มวิชาประวัติศาสตร์ ภาคสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พี.เอส.เพรส.
อุทิศ ทาหอม, สำราญ ธุระตา, สินทรัพย์ ยืนยาว, และวิศวมาศ ปาลสาร. (2565). รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตำบลบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์: กรณีศึกษา ชุมชมสายตรีพัฒนา 3 และชุมชนสายตรี 7. ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2564.
Lefebvre, Henri. (1991). The Production of Space. Malden, Massachusettes: Blackwell Publishers ZTranslated by Donald Nicholson-Smith).