การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยการบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรภาค 10

Main Article Content

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข
อนงค์นาถ โยคุณ
อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
มาณพ เนตรภักดี
อาคม ทีสุกะ
Men Sokheang
พงษ์มนัส ดีอด

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรภาค 10 (2) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพทางการบริหารจัดการของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรภาค 10 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถามปลายปิด ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักงานสรรพากรภาค 10 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.59, S.D=0.57) 2) ค่าน้ำหนักของอิทธิพลทางตรงพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ประกอบด้วย 4 ตัวแปร โดยเรียงลำดับจากค่าน้อยไปหาค่ามาก คือ ด้านบุคลากร (-0.01)  ด้านข่าวสาร (0.20) ด้านการจัดการ (0.28) ด้านคุณธรรมในองค์กร (0.39) ทั้งนี้อิทธิพลทางอ้อมพบว่า  ค่าสัมประสิทธิ์ประกอบด้วย 3 ตัวแปร เรียงลำดับจากค่าน้อยไปหาค่ามาก คือ ด้านบุคลากร (-0.02) ด้านการจัดการ (0.15) ด้านข่าวสาร (0.16) ที่ส่งผ่านด้านคุณธรรม และสำหรับอิทธิพลรวม พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ประกอบด้วย 4 ตัวแปร เรียงลำดับจากค่าน้อยไปหาค่ามาก คือ ด้านบุคลากร (0.03) ด้านข่าวสาร (-0.36) ด้านคุณธรรม (0.39) ด้านการจัดการ (0.43) ตามลำดับ และค่าสหสัมพันธ์พหุคูณยกกำลังสอง (R2) พบว่า ด้านบุคลากร ด้านการจัดการ ด้านข่าวสาร ซึ่งเป็นตัวแปรเชิงสาเหตุที่อธิบายความแปรปรวนของคุณธรรมได้ ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ หากสำนักงานสรรพากรต้องการที่เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กรควรคำนึงถึงปัจจัยในด้านการจัดการ ด้านการข่าวสาร และด้านคุณธรรมเป็นหลัก หากการดำเนินงานในแต่ละด้านสามารถนำหลักคุณธรรมประกอบการดำเนินงานของสำนักงานจะส่งให้องค์กรมีประสิทธิภาพการดำเนินมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ศรีสันติสุข ส. ., โยคุณ อ. ., ดอนอ่อนเบ้า อ. ., เนตรภักดี ม. ., ทีสุกะ อ. ., Sokheang, M. ., & ดีอด พ. (2023). การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยการบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรภาค 10. Journal of Politics and Governance, 13(2), 62–77. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/256695
บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2563). ผู้บริหารกรมสรรพากรทั่วประเทศรับทราบนโยบายการบริหารงานจัดเก็บภาษีอากร มุ่งสู่การยกระดับกระบวนการทำงาน เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (DIGITAL TRANSFORMATION) และต่อยอดยุทธศาสตร์ D2RIVE. สืบค้นจาก https://www. rd.go.th/26/686.html.

กรมสรรพากร. (2561). สรรพากรประกาศยุทธศาสตร์ D2RIVE ยกระดับการเก็บภาษีและบริการประชาชนให้ทันสมัย รวดเร็ว และเป็นธรรม สืบค้นจาก. https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/news/news09_2562_edit.pdf

กรมสรรพากร. (2563). ผลการจัดเก็บภาษี. สืบค้นจาก https://www.rd.go.th/310.html

ณิชานันท์ ปิ่นทอง, อารีรัตน์ ปานศุภวัชร, และวราวุฒิ วรานันตกุล. (2560). ผลกระทบของการสื่อสารภายในองค์กรที่ดีที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตรในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(2). 39-50.

ทัศมาลี ทองจันทร, และวิชาญ เหรียญวิไลรัตน. (2020). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของโรงเรียนกีฬาจังหวัด อุบลราชธานี. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาศาสตร์การจัดการ แห่งแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 27-42.

ปรีชา สุวรรณภูมิ. (2554). รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างกลุ่มที่ 1 ประเทศไทย. Journal of the Association of Researchers, 16(3), 102-117.

วิทยา แสนทวีสุข, และทรงศักดิ์ จีระสมบัติ. (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในความคิดเห็นของประชาคมหมู่บ้านขององค์กรบริหารส่วนตำบลกุดฉิม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศุภมาศ วิมลเกียรติ (2564). ตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานสรรพากร พื้นที่ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารไตรศาสตร์, 7(2), 38-46.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว6000. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/w9-2562_atch.pdf.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท. เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง จำกัด. สุวดีเบญจวงษ์.

อ้อมขวัญ กฤษณะกาฬ, และศรีสุนันท์ ประเสริฐสังข์. (2562). ระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสูงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการแพรวากาฬสิธุ์, 6(2), 268-289.

Ayuso, S., Rodríguez, M. A., García-Castro, R., & Ariño, M. A. (2014). Maximizing stakeholders’ interests: An empirical analysis of the stakeholder approach to corporate governance. Business & Society, 53(3), 414-439.

Diamantidis, A. D., & Chatzoglou, P. (2019). Factors affecting employee performance: an empirical approach. International Journal of Productivity and Performance Management, 68(1), 171-193

Hair J. F., Black W. C., Babin B. J., Anderson R. E. & Tatham R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Pearson Prentice Hall: New Jersey.

Insani, N. (2020). Apparatus Professionalism and Public Service Ethics. Journal La Sociale, 1(1), 25-28.

Jangsuthivorawat, K., Pinthapataya, S., & Boonyasopon, T. (2018). Development Model of Knowledge Management System Enhancing the Organization Efficiency of the Hard Disk Drive Industry. Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 28(2), 453-460.

Lebedev, K. A. E., Reznikova, O. S., Dimitrieva, S. D., & Ametova, E. I. (2018). Methodological Approaches to Assessing the Efficiency of Personnel Management in Companies. Journal of Advanced Research in Law and Economics, 9(4), 1331-1336

Lora-Guzmán, H. S., Castilla-Paternina, S., & Góez-Flórez, M. (2020). Management by Competencies as a Strategy for the Improvement of Efficiency and Organizational Effectiveness. Universidad Libre, 15(1), 83–94.

Menzel, D. C. (2019). Ethics Management in Public Organizations: What, Why, and How?. In Handbook of administrative ethics (pp. 355-366). New York: Routledge.

Olkiewicz, M. (2018). Quality improvement through foresight methodology as a direction to increase the effectiveness of an organization. Contemporary Economics, 12(1), 69-81.

Rostek, K., & Młodzianowski, D. (2018). The impact of conscious and organized change management on efficiency of functioning the network organization. Management and Production Engineering Review, 9(3), 49-58.

Steen, M., & Nauta, J. (2020). Advantages and disadvantages of societal engagement: a case study in a research and technology organization. Journal of Responsible Innovation, 7(3), 598-619.

Stojanovic, M. (2019). Conceptualization of ecological management: practice, frameworks and philosophy. Journal of Agricultural and Environmental Ethics, 32(3), 431-446.

Van, V. H., Phong, N. X., & Hiep, H. D. (2019). Basic issues about organization and apparatus of the current political system in Vietnam. International Journal of Advance Research, Ideas and Innovations in Technology, 5(6), 160-167.

Vasu, M. L., Stewart, D. W., & Garson, G. D. (2017). Organizational behavior and public management. New York: Routledge.

Vincent and Charles. (1973). Why employees stay, Building resilience and sustainability in Asia-Pacific Supply Chains. Harvard business review.

Zille, H., Ishibuchi, H., Mostaghim, S., & Nojima, Y. (2017). A framework for large-scale multi objective optimization based on problem transformation. IEEE Transactions on Evolutionary Computation, 22(2), 260-275.