การวิเคราะห์กรณีศึกษาด้วยทฤษฎีทางสังคมต่างสำนักคิด: ช่องว่างและความแตกต่างทางความคิดทางการเมืองของคนสองช่วงวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปรากฏการณ์ทางสังคมหนึ่งที่ท้าทายกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศไทย คือ ความเห็นต่างทางการเมืองของคนสองช่วงวัย จนกลายเป็นความกังวลและคำถามต่อสังคมว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยกจนยากที่จะแก้ไขหรือไม่ สำหรับบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองทางความคิดและการแสดงออกทางการเมืองของคนสองช่วงวัย และอธิบายปรากฏการณ์ช่องว่างและความแตกต่างทางความคิดทางการเมืองของคนสองช่วงวัยด้วยทฤษฎีทางสังคมต่างสำนักคิด คือ ทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยา และทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และทรรศนะของนักวิชาการด้านการเมืองการปกครองและด้านสังคมวิทยา พบว่า มุมมองทางความคิดและการแสดงออกทางการเมืองของคนสองช่วงวัย คือ กลุ่มแรก ส่วนใหญ่เป็นคนสูงวัย และวัยทำงานอ คือ Baby Boomers, Generation X และ Generation Y บางส่วน ที่มีมุมมองวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมการมีส่วนร่วม บางส่วนมีความเบื่อหน่ายในประเด็นทางการเมืองและไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง กลุ่มที่สอง ส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มสาว วัยเรียนและวัยทำงาน คือ Generation Y บางส่วน และ Generation Z มีมุมมองเข้าใกล้รูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม มีความสนใจประเด็นการเมืองมากขึ้น กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ พร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพื่อมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางการเมือง เมื่ออธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยา พบว่า ช่องว่างและความแตกต่างทางความคิดทางการเมืองของคนแต่ละช่วงวัยเกิดจากประสบการณ์การรับรู้ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดพฤติกรรมและการแสดงออกทางการเมืองแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ให้ความสนใจกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันทำให้การปรับตัวและการแสดงออกทางการเมืองของคนในแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ
Article Details
References
กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์. (2563). การตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(1), 91-103.
กันต์พงศ์ ทวีสุข. (2561). ช่องว่างระหว่างวัยทางการเมือง. สืบค้นจากhttp://www.kanpongt.com/blog/gengapinpolitics/
จามะรี เชียงทอง. (2549). สังคมวิทยาการพัฒนา.กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ฉาย บุญนาค. (2562). ช่องว่างระหว่างวัย อีกหนึ่งภารกิจที่ รบ.ประยุทธ์ 2 ห้ามมองข้าม. สืบค้นจากhttps://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647770
ไชยันต์ ไชยพร. (2562). ช่องว่างทางการเมืองระหว่างวัย. สืบค้นจาก https://www.chula.ac.th/cuinside/24101/
ทัศนีย์ ทองสว่าง. (2549). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
นภดล นพรัตน์. (2563). Generation Gap (ช่องว่างระหว่างวัย ความเข้าใจที่แตกต่าง). สืบค้นจาก https://acrosswork.co.th/2018/10/generation-gap
นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2559). บทบาทของ HRM: การจัดการช่องว่างระหว่างวัยในองค์กร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 73-88.
นิยพรรณ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2563). เปิดโผรายชื่อดาวเด่นม็อบนักศึกษาขึ้นปราศรัย 19-20 กันยายนนี้. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/politics/news-523999
พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
วรวรรณ ธาราภูมิ. (2563). ความคาดหวังกับความจริงเรื่องม็อบ 19 ก.ย. 63. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/profile.php?id=1450051196
วิทยากร เชียงกูล. (2552). จิตวิทยาวัยรุ่น: ก้าวข้ามปัญหาและพัฒนาศักยภาพด้านบวก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.
สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2548). การเมือง: แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
อมร รักษาสัตย์. (2544). การเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2556). การเมืองของพลเมืองสู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.
อรวรรณ สว่างอารมณ์. (2563). การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมือง 4 รุ่น: กรณีศึกษาอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพัฒนาสังคม, 23(1), 163-180.
Gabriel A. Almond & Sidney V. (1965). Political Culture and Political Development. Princeton: Princeton University Press.
Solomon, R.M. (2009). Consumer behavior: buying, having and being (9thed.). Upper SaddleRiver, NJ: Pearson Prentice Hall.
The Bangkok Insight Editorial Team. (2020). ข้อเรียกร้องชุมนุม 19 กันยา. Retrieved from https://www.thebangkokinsight.com/437943/
Yooprot. T. (2013). Effect of Work Values on Organizational Citizenship Behavior Among the Generations. Journal of Business Administration, Thammasart University, 36(138), 40-62.