การพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

วิชยุตม์ พิมพ์ถนอม
ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมและวัฒนธรรมขององค์การ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การ และ 3) เสนอการพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 337 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 15 ท่าน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำมาเขียนเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมขององค์การภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และวัฒนธรรมองค์การขององค์การภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) หลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับวัฒนธรรมขององค์การ อยู่ในระดับสูง (r = 0.806) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) การพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี จากผลการสังเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมผ่านทุกภาคส่วน ด้านการดำเนินการและบริหารงานภายใต้ระเบียบทางราชการ และด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม

Article Details

How to Cite
พิมพ์ถนอม ว., & ทรัพย์นาวิน ศ. . (2023). การพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี. Journal of Politics and Governance, 13(1), 95–109. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/253612
บท
บทความวิจัย

References

กัญญา วงศ์อุดร. (2549). การสร้างวัฒนธรรมองค์กร กรณีศึกษา: บริษัท เอสซี แอสเสทคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จิตติ กิตติเลิศไพศาล. (2550). ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

เทพเทวา คงมะกล่ำ. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลในเขตอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. (ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพมหานคร.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2552). การบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐ: การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัด. กรุงเทพฯ: โฟรเพซ.

ศรีสกุล เจริญศรี. (2558). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ตีพิมพ์). วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544). สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/Default.axpx?tabid90.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี. (2562). ข้อมูลพื้นฐานและผลงานของ อปท. ในสังกัดจังหวัด. สืบค้นจาก http://phetchaburilocal.go.th/public/ckpv/data/list/ menu/287.

สุรเชษฐ์ คะสุดใจ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2561). หลักธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Cooke, R. A., & Lafferty, J. C. (1989). Organizational culture in ventory. Plymouth MI: Human Synergistic.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Schein, E. H. (1991). Organization Culture and Leadership (2nd ed.). San Francisco: Jossey-Bass. Publishers.

Taro, Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.