ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

เกวลี ไตรมิตรวิทยากุล
นิรันดร์ ยิ่งยวด
อภิชาติ ใจอารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 348 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัย พบว่า ประชาชนเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย (X10) และทัศนคติในการจัดการขยะมูลฝอย (X11) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย(Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม  ในการจัดการขยะมูลฝอย (Y) ได้แก่ พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย (X10) และทัศนคติในการจัดการขยะมูลฝอย(X11) โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อได้ร้อยละ 53.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ŷ  =  0.537 + 0.089 X10 + 0 .045 X11


          และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.370 ZX10 + 0.290 ZX11

Article Details

How to Cite
ไตรมิตรวิทยากุล เ. ., ยิ่งยวด น. ., & ใจอารีย์ อ. . (2021). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. Journal of Politics and Governance, 11(1), 100–117. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/251702
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2547). การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจรคู่มือสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร.
_______. (2553). การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. กรุงเทพมหานคร.
กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2558).รายงานผลงานวิจัย เรื่อง การบริหารขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพมหานคร.
จรรยา ปานพรม. (2554). การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน: เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชุติมา ตุ๊นาราง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ. วารสารจัดการสิ่งแวดล้อม.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 7(2), 35-48.
นัยนา เดชะ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ตำบลเสม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2555). การออกแบบการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิม์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิเชษฐ์ คงนอก. (2555). การศึกษาการจัดการขยะชุมชนเทศบาลตำบลดอนหวาย อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
มยุรีย์ เสนะโลหิต. (2562,5 มีนาคม). สถานการณ์และการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ. ผู้อำนายการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักงานเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ. [บทสัมภาษณ์]
วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ. (2559). แผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ. 2561 - 2564). สำนักงานเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ. นครปฐม.
อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.
อนุรักษ์ โปร่งสุยา. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ตำบลออย อำเภอปง จังหวัดพะเยา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
อภิชาติ ใจอารีย์. (2556). สิทธิชุมชน: สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษมการพิมพ์ จำกัด.
________. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาการจัดการป่าชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปะ, 36(1), 111-136.
Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Knowles M.S. (1998). The Making of an Adult Education: An Autobiographical Journey. San Francisco: Jossey-Bass.
Kolesnik, W.L. (1970). Education Psychology. New York: Mc-Graw-Hill Book.