การศึกษาการจัดการความยากจนหลายมิติของประเทศไทยตามระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า ด้านการเข้าถึงบริการรัฐผ่านการจัดสรรงบจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2560-2562

Main Article Content

อัยรวี วีระพันธ์พงศ์
อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพความยากจนหลายมิติของประเทศไทยด้านการเข้าถึงบริการรัฐตามตัวชี้วัดของ TPMAP 2) ศึกษานโยบายภาครัฐผ่านการจัดสรรงบประมาณจังหวัดในการจัดการความยากจนหลายมิติด้านการเข้าถึงบริการรัฐตามระบบ TPMAP และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพความยากจนหลายมิติกับนโยบายภาครัฐผ่านการจัดสรรงบประมาณจังหวัดในการจัดการความยากจนหลายมิติด้านการเข้าถึงบริการรัฐ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานภาพความยากจนหลายมิติของประเทศไทยตามระบบ TPMAP ประจำปี 2560 – 2562 จังหวัดที่ไม่มีสัดส่วนคนจนในตัวชี้วัดนี้เลย จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร พังงา และปราจีนบุรี ทั้งนี้จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดที่มีแนวโน้มสัดส่วนคนจนลดลงในอัตราที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ในขณะที่จังหวัดที่มีแนวโน้มสัดส่วนคนจนเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม 2) การจัดสรรงบประมาณ พบว่า จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดที่ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในขณะที่จังหวัดยะลา ได้รับงบประมาณลดลงมากที่สุด 3) การจัดสรรงบจังหวัดพบว่าไม่สัมพันธ์กับสถานภาพความยากจน โดยจังหวัดที่ไม่มีกลุ่มคนจนเลยหรือมีแนวโน้มสัดส่วนคนจนลดลงอย่างต่อเนื่องกลับได้รับการจัดสรรงบประมาณ ในขณะที่จังหวัดที่แนวโน้มสัดส่วนคนจนเพิ่มสูงขึ้นกลับไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หรือได้รับจัดสรรในสัดส่วนที่น้อยลง 4) ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) ควรเผยแพร่ค่าดัชนีความยากจนหลายมิติ (2) เกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณต้องปรับเกณฑ์ให้มีค่าน้ำหนักสูงขึ้น รวมทั้งบรรจุเกณฑ์ประเมินผลโครงการ และเพิ่มเกณฑ์การจัดสรรงบเพิ่มในกระบวนการจัดทำงบประมาณจังหวัด (3) จัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณากลั่นกรองการจัดสรรงบประมาณในกระบวนการจัดทำงบประมาณจังหวัด

Article Details

How to Cite
วีระพันธ์พงศ์ อ., & วงศ์ปรีดี อ. . (2023). การศึกษาการจัดการความยากจนหลายมิติของประเทศไทยตามระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า ด้านการเข้าถึงบริการรัฐผ่านการจัดสรรงบจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2560-2562. Journal of Politics and Governance, 13(1), 63–79. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/250282
บท
บทความวิจัย

References

เจตน์ ดิษฐอุดม. (2557). ผลลัพธ์ของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับจังหวัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชฎา คงศรี. (2560). จาก MDGs สู่ SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่เปลี่ยนไปเพื่อความยั่งยืน. สืบค้นจาก https://sdgmove.wordpress.com/2017/08/13/mdgstosdgs/

ฟ้ารัตน์ สมแสน. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการจัดทำงบประมาณระดับจังหวัดและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนก่อนและหลังมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP). (2562). เกี่ยวกับโครงการ. สืบค้นจาก https://www.tpmap.in.th/about

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2548). การบริหารจัดการของกลุ่มจังหวัดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับพื้นที่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บพิธการพิมพ์.

สุดใจ สะอาดยิ่ง และคณะ. (2552). รูปแบบการมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน ของหมู่บ้านตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เพื่อรองรับแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ในการสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สุเทพ พันประสิทธิ์. (2545). ดัชนีคุณภาพชีวิตและค่าวัดความยากจนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนฯ 12 ฉบับประชาชน: นวัตกรรมคือหัวใจของการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักวิชาการ, สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). “Big Data” ในภาครัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

World Bank. (2019). Year in Review: 2019 in 14 Charts. Retrieved from https://www.worldbank.org/en/news/feature/2019/12/20/year-in-review-2019-in-charts

World Bank. (2020). อัตราความยากจนของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว. Retrieved from https://www.worldbank.org/th/news/press-release/2020/03/03/thailands-poverty-on-the-rise-amid-slowing-economic-growth