ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของชุมชนริมฝั่งโขง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

Main Article Content

จารุกัญญา อุดานนท์
มุทุดา แก่นสุวรรณ
อนิรุจ อินทร์เกศา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมฝั่งโขง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Enter Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมฝั่งโขง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.75, S.D. = .616) และการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมฝั่งโขง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.58, S.D. = .614) สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของชุมชนริมฝั่งโขง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ประกอบด้วยปัจจัยด้านเครือข่าย (beta=.181) ปัจจัยด้านผู้นำ (beta = .357) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (beta = .141) และปัจจัยด้านวัฒนธรรม (beta = .111) โดยปัจจัยด้านผู้นำส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของชุมชนริมฝั่งโขง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมฝั่งโขง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 58.5 (R2 = .585)

Article Details

How to Cite
อุดานนท์ จ., แก่นสุวรรณ ม. ., & อินทร์เกศา อ. . (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของชุมชนริมฝั่งโขง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม . Journal of Politics and Governance, 12(3), 127–143. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/250008
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2558). การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เกศิณี มรนนท์. (2555). ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ไชยา ยิ้มวิไล, และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการจัดการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(2), 58-63.

ธนาวัฒน์ ปัทมฤทธิกุล. (2561). ศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองชายแดนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-กวางตรี. วารสารการวิจัยบริหารการพัฒนา, 8(1), 61-68.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์.

ปรีชา คำมาดี, และสมพงษ์ อัศวริยธิปัติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มเยาวชน ในจังหวัดชลบุรี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 23 มิถุนายน 2559 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 396-407.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2546). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

มนตรี คำวัน, และคู่บุญ จารุมณี. (2560). โอกาสและความท้าทายของการพัฒนานครพนมเป็นเมืองท่องเที่ยวริมฝั่งแม่น้ำโขง. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(3), 163-178.

วนิดา วาดีเจริญ. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมคิด ศรีสิงห์. (2559). ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9(2), 57-63.

สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 4 ปี 2561-2564. จังหวัดนครพนม.

สุจันทรา สะพุ่ม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ ททท. กรณีศึกษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

สุชิน แสงลออ. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุธาทิพย์ เข็มน้อย. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.

Arnstien, S.R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Institue of Planners, 35(4), 216-224.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure For Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.

Felsenstein and freeman. (2001). Estimating the impacts of crossborder competition: the case of gambling in Israel and Egypt. Tourism Management, 22(5), 511-521.

Hausman and Haytko. (2007). Mexican maquiladoras: helping or hurting the US/Mexico cross‐border supply chain. The International Journal of Logistics Management, 18(3), 347-363.

Keogh, B. (1990). Public Participation in Community Tourism Planning. Annals of Tourism Research, 27(3), 449-465.

McIntosh, R.W. and C.R. Goeldner. (1986). Tourism Principles, Practices, Philosophies. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.