การใช้ระบบการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (EDS) ของบุคลากรวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเข้าใช้ระบบงาน สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (EDS) ของบุคลากรวิทยาลัยการเมืองการปกครอง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างคู่มือการใช้ระบบการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (EDS) ของบุคลากรวิทยาลัยการเมืองการปกครอง การกลุ่มตัวอย่างคือ คณาจารย์และบุคลากรวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ T-Test และสถิติทดสอบ F-test (One-way ANOVA) จากผลการวิจัยพบว่า บุคลากรในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มีด้านความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (EDS) อยู่ในระดับปานกลาง (=3.47) ในเมนูการแยกหมวดหมู่เอกสาร การจัดการปฏิทินในระบบรวมถึงความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบปฏิบัติการ application ด้านทัศนคติต่อการใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (EDS) อยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (
=3.75) ผู้ใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (EDS)มีค่าเฉลี่ยระดับความเห็นด้วยกับคำถามที่ว่าระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดการเก็บเอกสารในการตรวจสอบได้มากในลำดับที่หนึ่ง ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการผลักดันให้ทุกส่วนงานใช้ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (EDS) ให้เต็มประสิทธิภาพเพิ่มระบบปฏิบัติการ (application) ในระบบ android ที่ตอนนี้มีเพียงระบบ IOS เท่านั้น ที่รองรับการใช้งาน และควรมีการปรับปรุงเมนูส่วนเสริมที่ใช้งานในส่วนของเจ้าหน้าที่งานสารบรรณ ให้มีความหลากหลายและทันสมัยมากขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานในระบบสารบรรณ ที่มีประเภทงานใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ควรมีการฝึกอบรมบุคลากรและคณาจารย์ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการใช้ระบบรวมไปถึงการมีคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการใช้งานต่อไป
Article Details
References
กองเทพ เคลือบพานิชยกุล และคณะ. (ม.ป.ป). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526. กรุงเทพฯ: ภูมิบัณฑิตการพิมพ์.
จำนง หอมแย้ม และคณะ. (2537). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ เพิ่มเติม 2548. กรุงเทพฯ: บริษัทไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง จำกัด.
จิราพัชรี ศรีศักดิ์ธีรตา. (2554). คุณลักษณะของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการยอมรับของบุคลากรในกรมธนารักษ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชาลี มณีศรี. (2542). การบริหารงานธุรการ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ณิชมน โหราศาสตร์. (2553). ศักยภาพขององค์กรภายหลังการนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในสำนักงานเลขานุการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2548). เทคนิคในการวิเคราะห์นโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
พันตำรวจโทหญิงอมรเทวี เพิ่มพิทยา. (2548). งานสารบรรณตำรวจ. กรุงเทพฯ.
พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.
พิมพ์ชนก อิปาน. (2556). การพัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักบริหารกลาง กรมทางหลวงชนบท. บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มุกดา เชื้อวัฒนา. (2548). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานสารบรรณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2557. รายงานการวิจัย สำนักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
มุกดา เชื้อวัฒนา. (2548). รายงานประสบการณ์ในการพัฒนางานสารบรรณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. งานบริหารและธุรการ ส านักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
รุ่งทิพย์ วุฒิคัมภีร์. (2555). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเมื่อนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้พัฒนางานสารบรรณ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี.
วิจารณ์ พานิช. (2550). การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.).
สำนักงานนายกรัฐมนตรี. (2544). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สกายบุคส์.