การพัฒนากลไกการจัดการแรงงานเพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย ด้านแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดมุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อวิเคราะห์ความต้องการประเภทกิจการในพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอันมาจากข้อเสนอของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใน จ.มุกดาหาร 2.เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำนวนแรงงานและทักษะฝีมือแรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร ซึ่งสอดคล้องกับประเภทกิจการและความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่ 3. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคด้านแรงงานที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร อันมาจากข้อมูลที่แท้จริงของพื้นที่ 4.การสังเคราะห์ตัวแบบ (Model) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายด้านแรงงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการวิเคราะห์จากข้อมูลที่แท้จริงของพื้นที่เป็นสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า ประเภทกิจการในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร ที่พื้นที่ต้องการ 5 ประเภทกิจการสำคัญ คือ 1.กิจการด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2.กิจการด้านโลจิสติกส์ 3.กิจการด้านโรงงานภาคการเกษตร 4.กิจการด้านการท่องเที่ยว ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 5.กิจการด้านการแพทย์ทางเลือก โดยมีความต้องการจำนวนแรงงานกว่า 16,000 คน โดยมีทักษะฝีมือแรงงานที่ต้องพัฒนา อาทิ สาขาอาชีพการช่าง สาขาอาชีพด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรม สาขาอาชีพภาคบริการ การท่องเที่ยว สาขาอาชีพด้านแพทย์พื้นบ้าน เป็นต้น โดยมีปัญหาอุปสรรคด้านแรงงาน ได้แก่ 1.ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความเข้าใจเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2.ด้านวิถีชีวิตประจำวัน 3.ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจของแรงงานในท้องถิ่น 4.ด้านการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเกิดตัวแบบ การขับเคลื่อนนโยบายด้านแรงงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร ซึ่งประกอบด้วย 3 ภาคส่วนสำคัญ คือ 1.สำนักงานแรงงาน จ.มุกดาหาร 2.หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องระดับ จ.มุกดาหาร 3.หน่วยงานภาคีเครือข่าย ระดับพื้นที่ อ.เมือง อ.ดอนตาล อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนในลักษณะผนึกกำลังร่วมกัน ให้เกิด ศูนย์เฉพาะกิจออกแบบหลักสูตรและพัฒนาด้านทักษะฝีมือแรงงานเตรียมพร้อมการขยายตัวเศรษฐกิจชายแดน ตามความต้องการของพื้นที่ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ควรมีนโยบายพัฒนาด้านแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร ที่เชื่อมโยงกับเรื่องความยั่งยืนทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนาองค์รวมร่วมรังสรรค์ ในประเด็นด้านการพัฒนาทักษะแรงงาน คุณภาพชีวิตแรงงาน การยกระดับศักยภาพท้องถิ่นเพื่อพัฒนาแรงงาน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสภาพชีวิตของแรงงาน
Article Details
References
สำนักงานแรงงานจังหวัดมุกดาหาร. (2559). สถานการณ์และดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดมุกดาหารปี2559. มุกดาหาร: สำนักงานแรงงานจังหวัดมุกดาหาร.
สำนักงานแรงงานจังหวัดมุกดาหาร. (2559). สรุปผลการจัดประชุมสัมมนาและศึกษาดูงานความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว แรงงาน และการประชาสัมพันธ์3จังหวัด/แขวง 3ประเทศ ระหว่าง จังหวัดมุกดาหาร ราชอาณาจักรไทย – แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดกวางตรี สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภายใต้โครงการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในระดับจังหวัด/ท้องถิ่นและกลุ่มประเทศอาเซียน. (รายงานการประชุม). มุกดาหาร : สำนักงานแรงงานจังหวัดมุกดาหาร.
AsianDevelopmentBank. (2016). The Roleof Special Economic ZonesinImproving Effectiveness of GMS Economic Corridors. Retrieved from https://www.adb.org/ sites/default/les/institutionaldocument/214316/role-sez-gms. Pdf.
Ansell, C., and A. Gash. (2007). Collaborative Governance in Theory and Practice.
Journal of Public Administration Research and Theory, 18(4), 543-71.
Baissac, C. (2011). Brief History of SEZs and Overview of Policy Debates. In T. Farole, ed. Special Economic Zonesin Africa : Comparing Performance and Learning from Global Experiences. Washington, DC: The World Bank. Retrieved from http://elibrary.worldbank.org/doi/ pdf/10.1596/978-0-8213-8638-5.
Carter, C., and Harding, A. (2011). SEZs: Policy Incubators or Catalystsfor Development?In Special Economic Zones in Asian Market Economies. New York: Routledge.
Casanova, A. P. D. (2011). Special Economic zones and freeports:Challenges and Opportunities in the Base Conversion and Development Experience in the Philippines, In C. Carter & A. Harding, editors. Special Economic Zones in Asian Market Economies, 108-123. London; New York: Routledge.
Cheesman, A. (2012). Special Economic Zones & Development: Geographyand Linkages in the Indian EOU Scheme from DPU Working Paper No145. London: from The Bartlett/University CollegeLondon. Retrieved from http://www.bartlett.ucl.ac.uk/ dpu/publications/dpu/latest/publications/dpu-workingpapers/WP145.pdf.
Chen, Xiangming and Tomas de Medici. (2010). The ‘Instant City'Coming of Age: Production of Spaces in China's Shenzhen Special Economic Zone. Urban Geography, 31(8), 1141-1147.
Donahue, J. (2004). On CollaBorative Governance. Working Paper No.2. Boston: John F. Kennedy School of Government, Harvard University.
Farole, T., ed. (2011). Special Economic Zones in Africa: Comparing Performance and Learning from Global Experiences. Washington, DC: The World Bank. Retrieved from http://elibrary.worldbank.org/doi/pdf/10.1596/978-0-8213-8638-5.
Farole, T. and G. Akinci, eds. (2011). Special Economic Zone. Farole, T.and G. Akinci, eds. Special Economic Zones Progress, Emerging Challenges, and Future Directions. Washington, DC: The World Bank. Retrieved from. https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/2341/638440PUBOExto00Box0361527BOPUBLICO.pdf?sequence=1.