ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

นันทนพ เข็มเพชร

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง 2. เพื่อศึกษาแนวทางข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเรียนของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2560 โดยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐานได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยการใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง โดยภาพรวมในระดับความคิดเห็นคือ ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผู้เรียน ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านครอบครัว ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกมหาวิทยาลัย ด้านความสัมพันธ์ในการคบเพื่อน ความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยในด้านที่นิสิตมีความเห็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านผู้เรียน (x ̅=3.46) รองลงมาในด้านครอบครัว (x ̅=3.32) ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย (x ̅= 2.98)ด้านอาจารย์ผู้สอน (x ̅=2.92) ด้านความสัมพันธ์ในการคบเพื่อน (x ̅=2.91) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกมหาวิทยาลัย (x ̅=2.72)ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเรียนของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคามสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านผู้เรียน ควรมีการเตรียมพร้อมก่อนเรียนอยู่เสมอ 2. ด้านอาจารย์ผู้สอน สื่อการเรียนการสอนนั้นยังไม่ตรงกับการที่อาจารย์ใช้สอน 3. ด้านครอบครัว นิสิตไม่พร้อมต่อการเรียนของนิสิต เช่น รายได้ของครอบครัว ปัญหาของครอบครัว 4. ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกมหาวิทยาลัย นิสิตมีการใช้รถจักรยานยนต์มีจำนวนมากขึ้นทำให้การขับขี่ไม่สะดวก 5. ด้านสภาพแวดล้อมภายในส่วนของห้องเรียน ตึกอาคารเรียนยังมีจำนวนไม่พอต่อการเรียน 6. ด้านความสัมพันธ์ในการคบเพื่อนต้องคบเพื่อนที่ดีสนใจในการเรียนสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้ และสามารถอยู่ที่สังคมหลากหลายได้

Article Details

How to Cite
เข็มเพชร น. . (2020). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Journal of Politics and Governance, 10(2), 221–239. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/245545
บท
บทความวิจัย

References

กมล สุดประเสริฐ. (2533). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชากิจกรรมและเครื่องมือแนะแนว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2524). สุขภาพจิตในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จรัส สุวรรณเวลา และคณะ. (2540). บนเส้นทางอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉวีวรรณ หลิมวัฒนา. (2532). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างองค์ประกอบด้านภูมิ หลังสภาพแวดล้อมและด้านการเรียนการสอนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
เชียรศรี วิวิธศิริ. (2527). จิตวิทยาการเรียนรู้สําหรับผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลการศึกษา (5-22). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2548). คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2548. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ้งรังษี วิบูลชัย. (2544). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมของคุณภาพการสอนในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (อุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมนึก ภัททิยธนี. (2545). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. (2519). องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้. สืบค้นจาก http://choompu32- tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html.
สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2545). ห้าสาระ การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์. (2559 ). การศึกษารูปแบบการให้บริการด้านการลงทะเบียนเรียนระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(5). 146-157
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2518). หลักการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช