ผลการดำเนินงานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ: กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดสระแก้วปี 2557-2559 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษาการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดสระแก้ว และ4) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดสระแก้ว เก็บรวบรวมข้อมูลจาก การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการดำเนินงานตามนโยบายฯ พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตมีความเหมาะสม โดยเป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบายฯ ได้แก่ (1) บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอ (2) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขาดความทันสมัยและต่อเนื่อง (3) ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานน้อย (4) ระเบียบและขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออกสินค้าไทยและกัมพูชา มีความแตกต่างกันในบางเรื่อง (5) ความล่าช้าในการดำเนินงานของผู้รับเหมา การฟ้องร้องผู้บุกรุกที่ดิน และ (6) ความเชื่อมั่นของ นักลงทุนจากความล่าช้าในการดำเนินงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและการจัดทำผังเมือง 3. ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายฯ ร้อยละ 81.70 และประชาชนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมบ้างในบางครั้ง ในด้านการประชุมรับฟังข้อมูล แสดงความคิดเห็น เสนอความต้องการในการพัฒนาตามนโยบายฯ 4. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายฯ ได้แก่ (1) ปรับปรุงและพัฒนาการประชาสัมพันธ์ด้านการลงทุน (2) จัดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว (3) สร้างการรับรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (4) ผลักดันแนวคิดรูปแบบการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานตามนโยบายฯ
Article Details
References
รติมา คชนันทน์. (2559). จับตาสระแก้ว นำร่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรับเออีซี. บทความวิชาการประเด็นร้อน. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.เข้าถึงได้จาก http://library2.parliament.go.th/ebook/e_hotissue.html.
วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ศรินทิพย์ ประเศรษฐานนท์. (2552). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกบการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). เขตเศรษฐกิจพิเศษ โอกาสทางของ SME ไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/BorderSEZsForThaiSMEs2.pdf.
ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2558).รูปแบบ/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ-ล้มเหลว การตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. เอกสารวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคง ฉบับที่ 17/58 (1-15 มิ.ย.58). กองศึกษาวิจัยทางยุทธศาสตร์และความมั่นคงฯ.
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(องค์การมหาชน). (2558). แนวทางและมาตรการเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ชายแดนของไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน).
สรวุฒิ จงสกุล. (2556). การรับรู้และความคิดเห็นของประชาชน ตำบลบ้านเก่าอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่มีต่อโครงการทวาย. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายของรัฐบาล. เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก http://sez-valuation.com.
อดิเรก ฟั่นเขียว. (2557). การยอมรับ ความคาดหวังและปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในจังหวัดตาก. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 4(6), 1-14.
_____. (2559). ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ในพื้นที่จังหวัดตาก. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 5(1), 89-125.
อรุณ สุขประดิษฐ์ (2559). ความรู้ของประชาชนต่อนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ในพื้นที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว.งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
Arnstein, Sherry R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the AmericanPlanning Association, 35(4), 216-224.
Stufflebeam, Daniel L. et al. (1971). Education Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: Peacock Publisher.
Van Meter, D. S. & Van Horn C. E. (1975). The policy implementation process: A Conceptual Framework. Administration and Society, 9(46), 4.
Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.