ความแตกต่างระหว่างเพศ โค้งพัฒนาการตามอายุ และแนวโน้มของค่าใช้จ่าย ประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ

Main Article Content

มัณฑนา จาดสอน
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ โค้งพัฒนาการตามอายุ และอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ในแต่ละปี กับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาพยาบาลต่อคนต่อครั้งของสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งได้แก่ สิทธิข้าราชการ สิทธิบิดามารดา สิทธิสามีภรรยา สิทธิบุตรธิดา (2) ศึกษาแนวโน้มของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาพยาบาลต่อคนต่อครั้งของแต่ละสิทธิที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (ปีพ.ศ.2561-2567) โดยใช้วิธีการหาเส้นโค้งที่เหมาะสม (curve fitting) ซึ่งสมการเส้นโค้งในแต่ละสิทธิจะแบ่งตามเพศ และกำหนดให้ตัวแปรตาม คือ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาพยาบาลต่อคนต่อครั้ง ตัวแปรต้น คือ (1) ช่วงอายุ (2) ปีที่เข้ารักษา ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามอายุ และเพศชายมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเพศหญิง แต่ในช่วงอายุ 80 ปี เป็นต้นไป เพศหญิงจะสูงกว่าเพศชายและสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ที่ใกล้เคียงกันในแต่ละปี และจากสมการเส้นโค้งค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาพยาบาลต่อคนต่อครั้งที่สร้างขึ้นทำให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นทุก ๆ ปี โดยเฉพาะในสิทธิข้าราชการที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่าในทุก ๆ สิทธิ และงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการประเมินทางคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial valuation) ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของสิทธิข้าราชการในอนาคต เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินหรือกำหนดมาตรการรองรับให้เหมาะสมต่อไป

Article Details

How to Cite
จาดสอน ม. ., & ศักดิ์วรวิชญ์ อ. . (2020). ความแตกต่างระหว่างเพศ โค้งพัฒนาการตามอายุ และแนวโน้มของค่าใช้จ่าย ประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ. Journal of Politics and Governance, 10(1), 253–267. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/241525
บท
บทความวิจัย

References

กรมบัญชีกลาง. (2558). คู่มือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ. กรุงเทพมหานคร: กรมบัญชีกลาง.
ณัฐธิดา จินดาพล, พัชราภรณ์ คุณูปถัมภ์, พิชยานี ธีระศิลป์, & นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์. (2557). วิกฤตระบบประกันสุขภาพสิทธิการรักษาพยาบาลสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการไทย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(2), 199-206.
พลเดช ปิ่นประทีป. (2561). ภารกิจและทิศทาง2561 : สช.กับขบวนชุมชนท้องถิ่น. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.).
วารุณี อินวันนา. (2560). ประเมินค่ารักษา รับมืออีก10ปีมูลค่าพุ่ง. สืบค้นจากhttps://www.posttoday.com/finance/insurance/495687
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2555). เดินหน้าสู่การควบคุมค่ายา ในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ. In H. Forum (Ed.), 1, 2-9.
ศุทธิดา ชวนวัน, และ ปิยวัฒน์ เกตุวงศา. (2557). ทำไมผู้หญิงไม่แต่งงาน : ผู้ชายหายไปไหน (ยุพิน วรสิริอมร, จงจิตต์ ฤทธิรงค์, ศุทธิดา ชวนวัน, และ พจนา หันจางสิทธิ์ บ.ก.). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
PwC. (2017). Medical Cost Trend: Behind the Numbers 2018. PwC’s Health Research Institute.
Hfocus. (2558). ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของแต่ละกองทุนสุขภาพ. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2015/12/11437
Yamamoto, D. H. (2013). Health care costs—from birth to death. Health Care Cost Institute Report, 1.