ทัศนะในการขอตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

จีราวรรณ บุญคำภา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาทัศนะของคณาจารย์วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคามเกี่ยวกับการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและศึกษาเปรียบเทียบทัศนะ พร้อมทั้งศึกษาข้อเสนอแนวการเข้าสู่ตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ คณาจารย์วิทยาลัยการเมืองการปกครอง จำนวน 25 คน ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป และข้อมูลด้านทัศนะในการขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 25 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การคำนวณค่าสถิติพื้นฐาน ผลการศึกษา พบว่าโดยคณาจารย์วิทยาลัยฯ แบ่งเป็นตำแหน่งอาจารย์ จำนวน 20 คน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 5 คน ด้านความคิดเห็นทางด้านแนวคิดการพัฒนางานวิชาชีพการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ซึ่งอยู่ในระดับมาก เช่น แนวทางหนึ่งในการพัฒนาด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดชีพ สะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการและความสามารถ และการพัฒนาทักษะทางวิชาการและความเชี่ยวชาญโดยอาศัยมาตรฐานหลักเกณฑ์พิจารณาจากความรู้ความสามารถ ทัศนะการขอตำแหน่งทางวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง พบว่า ภาระงานในปัจจุบันส่งผลต่อการทำผลงานทางวิชาการ ซึ่งวิทยาลัยฯมีการสนับสนุนงบประมาณในการทำงานวิจัย และทัศนะที่ไม่ควรนำมาเกี่ยวข้องกับการประเมินผลงานทางตำแหน่งวิชาการ คือ การประเมินจากประสบการณ์โดยไม่จำเป็นต้องเสนอผลงานทางวิชาการ ภาพรวมการเปรียบเทียบ การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของระหว่างอาจารย์และผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ พบว่า ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะมีความรู้ความเข้าในเกณฑ์ ระเบียบการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่ในทุกๆข้อกำหนด ด้วยมีประสบการณ์ในการขอตำแหน่งมาแล้ว เพียงศึกษาเกณฑ์เพิ่มเติมที่จาก ก.พ.อ. มีประกาศปรับเปลี่ยนแต่ละปี

Article Details

How to Cite
บุญคำภา จ. . (2020). ทัศนะในการขอตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Journal of Politics and Governance, 10(1), 224–237. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/241522
บท
บทความวิจัย

References

ดนัย เทียนพุฒ. (2540). การวางแผนอาชีพและแผนสืบทอดตำแหน่ง. กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการงานบุคคล.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2550). การจัดการทรัพยกรมนุษย์: มุ่งอนาคต. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.
วัฒนา นาวาเจริญ. (2540). ตำแหน่งทางวิชาการคือ. สารสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ศุภนิมิต ณ เชียงใหม่. (2541). การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา. (2554). รายงานการประเมินตนเองระดับสถาบัน (เพื่อรับรองการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม). มหาสารคาม: ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (2551-2565). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนอุดมศึกษา.
สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2545). วิกฤติอุดมศึกษาของไทยและทางออกของปัญหา. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย.
อำนวยพร มโนวงค์. (2552). การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทาลัยพายัพ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.