ประชาคมอาเซียนกับ การปกครองท้องถิ่น

Main Article Content

ศุทธิกานต์ มีจั่น

Abstract

เมื่อมีการนับถอยหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือชื่อเต็มว่า “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Association of Southeast Asia Nations–ASEAN) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในพ.ศ. 2558 นั้น ปรากฎการณ์ความสนใจที่เกิดขึ้นไม่เป็นเพียงแค่กระแส หากแต่เป็นความตื่นตัวอย่างจริงจังต่อเนื่อง ซึ่งไม่เฉพาะในแวดวงการศึกษาที่ทำหน้าที่ให้ความรู้และถ่ายทอดความเข้าใจเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงภาครัฐ ภาคธุรกิจ ชุมชนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป ซึ่งต่างเข้ามาเกี่ยวข้องด้านใดด้านหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ในแง่ผลผลิตทางวิชาการหรือในตลาดความรู้นั้น นอกจากการนำเสนอเรื่องเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในเชิงภูมิภาคโดยรวมและการจำแนกเป็นรายประเทศในกลุ่มสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ  อันได้แก่  ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า ลาวและกัมพูชา ในรูปแบบของความรู้ทั่วไป  ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครองของประชาคมอาเซียนหรือประเทศสมาชิกแล้ว การศึกษาเรื่องปกครองท้องถิ่นถือเป็นระดับการให้ความสนใจและจำนวนผลงานที่ผลิตออกมาไม่มากนักในรอบปีที่ผ่านมา  จึงถือได้ว่าหนังสือ “ประชาคมอาเซียนกับการปกครองท้องถิ่น” เล่มนี้ เป็นงานบุกเบิกและปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนกับความเชื่อมโยงต่อบทบาทของการปกครองท้องถิ่น อันถือเป็นระดับการปกครองที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในฐานะที่มีภารกิจในการบริหารและจัดบริการสาธารณะเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับตัวทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้


บทความนี้เน้นการสรุปสาระสำคัญและประเด็นที่มีความน่าสนใจที่พบจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ รวมไปถึงการให้ความเห็นถึงความโดดเด่นและข้อจำกัดบางประการ ดังที่จะได้นำเสนอต่อไป

Article Details

How to Cite
มีจั่น ศ. (2019). ประชาคมอาเซียนกับ การปกครองท้องถิ่น. Journal of Politics and Governance, 4(1), 386–397. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/211575
Section
Book Review

References

ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร.2555. ประชาคมอาเซียนกับ การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:สถาบันพระปกเกล้า. 96 หน้า