การจัดการและปัญหาการจัดทำวารสารวิชาการ: กรณีศึกษาวารสารการเมืองการปกครอง

Main Article Content

กวินทร์ พิมจันนา

บทคัดย่อ

วารสารวิชาการมีความสำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ความคิดและ พัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ตลอดจนความเคลื่อนไหวในแง่มุมต่างๆ ของวิทยาการอัน หลากหลาย การอ่านวารสารจึงเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามความรู้ใหม่เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เผยแพร่ไปยังประชาคมวิชาการ ตลอดจนชุมชนเป้าหมายที่จะนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ตระหนักถึงภารกิจที่จะเป็นแหล่งรวบรวม และเผยแพร่ความรู้ความคิดในรูปของการเสนอบทความทางวิชาการ งานวิจัย ความคิดเห็น บทวิจารณ์ และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ รวมทั้งภารกิจที่จะจัดระบบส่งเสริม สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย รวบรวม เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผลการศึกษาวิจัยเหล่านั้น ไปสู่กลุ่มผู้อ่านที่เป็นประชาชนทั่วไปได้กว้างขวาง จึงมีคุณค่าต่อการศึกษาอย่างสูง การศึกษาคู่มือปฏิบัติงาน : การจัดทำวารสารการเมืองการปกครอง ทำให้ทราบแนวทางในการปฏิบัติงานของระบบงานวารสารช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระบบ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกัน ผู้ปฏิบัติงานทราบวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการจัดทําวารสาร และสามารถปฏิบัติงานดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ และสอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของการจัดทําวารสารอย่างชัดเจน อีกทั้งผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการบริหารจัดการงานวารสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
พิมจันนา ก. (2019). การจัดการและปัญหาการจัดทำวารสารวิชาการ: กรณีศึกษาวารสารการเมืองการปกครอง. Journal of Politics and Governance, 9(1), 1–24. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/185723
บท
บทความวิจัย

References

กองบรรณาธิการ. (2560). ตัวอย่างการอ้างอิงและบรรณานุกรม (citation) และการลงรายการบรรณานุกรม แบบ APA ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 6. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), มกราคม – เมษายน.
ชวรัตน์ เชิดชัย. (2520). การบรรณาธิกรณ์หนังสือพิมพ์และนิตยสาร. กรุงเทพฯ : แผนกอิสระวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดรุณี หิรัญรักษ์. (2530). นิตยสาร. ภาควิชาการหนังสือพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล พัฒนา. (2542). วารสารและหนังสือพิมพ์. พิษณุโลก : สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.
บรรพต พิจิตรกำเนิด. (2550). วารสารและหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: กราฟฟิค สเปซ.
ศูนย์ข้อมูลการอ้างอิงวารสารไทย (TCI). ( 2559, 25 ธันวาคม). หลักเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการ. สืบค้นจาก http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%20journal.php?branch=H
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (2559, 25 ธันวาคม). คู่มือการจัดทำวารสารวิชาการระดับชาติ (วารสารศรีปทุมปริทัศน์). สืบค้นจาก https://www.spu.ac.th/research
อุดมลักษณ์ บำรุงญาติ. (2554). คู่มือปฏิบัติงาน : การจัดทำวารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.