บทบาททับซ้อนของคนวัยแรงงานในครอบครัวที่มีสมาชิกพึ่งพิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องบทบาททับซ้อนของคนวัยแรงงานในครอบครัวที่มีสมาชิกพึ่งพิง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของคนวัยแรงงานที่มีบทบาททับซ้อน (Sandwich roles) ในครอบครัวที่มีสมาชิกพึ่งพิง (Interdependent family members) 2) เพื่อเสนอแนวทางสนับสนุนคนวัยแรงงานที่มีบทบาททับซ้อน ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้มีทั้งหมด 12 คน ประกอบด้วยบุคลากรภาครัฐ และ บุคลากรภาคเอกชน อายุระหว่าง 25-60 ปี และอาศัยอยู่ในครัวเรือนหลายรุ่น ผลการวิจัยพบว่าคนวัยแรงงานในบริบทสังคมไทยแม้ว่าจะมีบทบาททับซ้อนทำให้ต้องแสดงบทบาทหน้าที่ต่อครอบครัวในหลายๆด้านพร้อมกัน ทั้งเป็นสามีหรือภรรยา เป็นแม่บ้านหรือพ่อบ้าน เป็นบุคลากรวัยแรงงานเพื่อหารายได้ และเป็นผู้ดูแลบุตรและผู้สูงอายุผู้เป็นบุพการีไปพร้อมกัน แต่ก็มีลักษณะเป็นผู้พึ่งพิงเช่นเดียวกัน กล่าวคือ พึ่งพิงพ่อแม่ในการช่วยดูแลบุตร ในขณะเดียวกันพ่อแม่ก็เป็นผู้พึ่งพิงคนวัยแรงงานในกรณีที่ต้องเดินทาง ดังนั้นคนวัยแรงงานและผู้สูงอายุในบริบทครอบครัวไทยจึงมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน มิใช่ผู้สูงอายุเป็นผู้พึ่งพิงคนวัยแรงงานเพียงอย่างเดียว จากการวิจัยพบว่า เวลาเป็นปัญหาหลักสำหรับกลุ่มตัวอย่างวัยทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากรที่อยู่ภายใต้ระเบียบเรื่องชั่วโมงงานที่ไม่ยืดหยุ่น ดังนั้น แนวทางในการแก้ไขปัญหาได้แก่การนำเอาแนวทางในการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน หรือ Work-life Balance (WLB) ของ Greenfield C. & Terry M. (1995) ที่ได้เสนอว่าองค์กรควรมีโปรแกรมเพื่อสร้างสมดุลชีวิตให้แก่บุคลากรเพื่อลดความขัดแย้งมาใช้ ได้แก่ Flexible work program, Time saving, Family members care program, Leave program, และ โปรแกรมที่สนับสนุนความจำเป็นด้านการเงินแก่พนักงาน
Article Details
References
ภาณุภาคย์ พงศ์อติชาต. (2549). Work-Life Balance. ผู้จัดการรายสัปดาห์ (HR Section), วันที่ 24-29 เมษายน 2549.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. . (2545) จิตวิทยาการปรับตัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิขาการ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). มองภาพครัวเรือนไทยในรอบ 10 ปี. สืบค้นจาก: http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_62.html (5 เมษายน 2561).
Agree, E., Bissett, B., & Rendall, M. S. (2003). Simultaneous care for parents and care for children among mid-life British women. Population Trends, 112, 29-35.
Biernat, B. A. (1997). Employed parents’ preference for reduced job hours in relation to job and family characteristics. University of Minnesota.
Cooke, R. A. & Rousseau, D. M. (1984). Stress and strain from family roles and work-role expectations. Applied psychology, 69(2), 252-260.
Dykstra, P. A. (2010). Intergenerational family relationships in ageing societies. United Nations Economic Commission for Europe.
Feinberg, L., Reinhard, S. C., Houser, A., & Choula, R. (2011). Valuing the Invaluable: 2011 Update, the growing contributions and costs of family caregiving, AARP Public Policy Institute Insight. 51.
Felstead, A., Jewson, N., Phizacklea, A. & Walters, S. (2002). Opportunities to work at home in the context of work–life balance. Human Resource Management Journal, 12 (1), 54–76.
Grandey, A. A. & Cropanzano, R. (1999). The conservation of resources model applied to work-family conflict and strain. Journal of Vocational Behavior, 54, 350-370.
Greenfield, C. and Terry, M. (1995). Work/life: From a set of programs to a strategic way of management. Employment Relations Today, Autumn, 67 - 81.
Greenhaus, J. H. & Beutell, N. J. (1985). Sources of conflict between work and family roles. Academy of Management Review.
Matthews, S. H. & Sun, R. (2006). Incidence of four-generation family lineages: Is timing of fertility or mortality a better explanation. The journals of gerontology. Series A,
Biological sciences and medical sciences, 61(2), 99.
Netemeyer, R. G., Boles, B. S., & McMurrian, R. (1996). Development and validation of work-family conflict and family-work conflict scales. Journal of Applied Psychology, 81, 400-410.
Shoemaker, J., Brown, A. & Barbour, R. (2011). A revolutionary change: Making the workplace more flexible. Solutions. 2(2).
Voydanoff, P. (2005). Toward a conceptualization of perceived work-family fit and balance: A demand and resources approach. Journal of Marriage and Family, 67, 822 - 836.
White, J. & Klein, D. (1996). Family Theories-An Introduction. Sage Publication International Educational and Professional Publisher Thousand Oaks, London, New Delhi.
White, M., Hill, S., McGovern, P., Mills, C. and Smeaton, D. (2003). ‘High-performance’ management practices, working hours and work–life balance. British Journal of
Industrial Relations, 41(2), 175–195.