การวิเคราะห์องค์ประกอบของการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว ในพื้นที่ตั้งจังหวัดน่าน

Main Article Content

วรรณชลี โนริยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และองค์ประกอบเชิงยืนยันในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในพื้นที่ตั้งจังหวัดน่าน ผู้วิจัยได้กลุ่มตัวอย่างที่จะทำการศึกษาทั้งหมด จำวน 420 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ประชาชนในพื้นที่ตั้งจังหวัดน่านยังมีความรู้ ความเข้าใจต่อความเป็นพลเมือง ที่ตื่นตัวตามระบอบประชาธิปไตยในระดับต่ำ (Mean = 12.00) ในส่วนของการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของกระบวนการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในพื้นที่ตั้งจังหวัดน่าน พบว่า ค่าสถิติของไคเวอร์-ไมเยอร์-โอลคิน (KMO) มีค่าเท่ากับ. 957 แสดงว่าข้อมูลทั้งหมดและตัวแปรต่างๆ ที่ศึกษาครั้งนี้มีความสัมพันธ์กันดีมาก สามารถนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบได้ และจากค่าสถิติของบาร์ทเลทท์ พบว่า ค่าสถิติไค-สแควร์ ที่ใช้ในการทดสอบมีนัยสำคัญเท่ากับ 36940.688 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แสดงว่า เมตริกซ์สหสัมพันธ์ของ ตัวแปรที่นำมาศึกษาครั้งนี้มีความสัมพันธ์กัน ข้อเสนอแนะในการวิจัย หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการยอมรับความแตกต่างและคำนึงถึงความเสมอภาคในสังคม การมีอิสระและพึ่งตนเองได้ ในฐานะที่เป็นพลเมืองที่ตื่นตัว ในระดับปัจเจกบุคคล รวมทั้งการช่วยพัฒนาการเมืองเวทีโลกได้ และการมีอิสระและพึ่งตนเองได้ ในฐานะที่เป็นพลเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชน นอกจากนี้สามารถนำแบบวัดนี้วัดซ้ำอีกรอบ เพื่อจะได้ทราบว่าพื้นที่มีองค์ประกอบของการส่งเสริมการเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวตามระบอบประชาธิปไตยครบหรือไม่ หรือนำไปใช้กับพื้นที่อื่นๆในพื้นที่เขตภาคเหนือหรือที่มีบริบทใกล้เคียงกับพื้นที่ตั้งจังหวัดน่านจะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการที่จะส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวทุกระดับได้

Article Details

How to Cite
โนริยา ว. (2017). การวิเคราะห์องค์ประกอบของการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว ในพื้นที่ตั้งจังหวัดน่าน. Journal of Politics and Governance, 7(2), 132–160. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/156650
บท
บทความวิจัย

References

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย. เอกสารเผยแพร่ในการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤๅชุตา เทพยากุล. (2554). การศึกษาวิชาความเป็นพลเมือง (Citizenship Education). วารสารเรียนรู้ประชาธิปไตย. 3(9), มกราคม – มีนาคม.
วลัยพร รัตนเศรษฐ. (2557). รัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สมพร ใช้บางยาง. (2546, 13 กุมภาพันธ์). บทความพิเศษ พลังพลเมืองร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่. ไทยโพสต์ .
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2543). การเมืองของพลเมืองสู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
Nosko, A. & Széger, K. (2013). Active Citizenship Can Change Your Country For the Better. [Online] Assess At https://www.opensocietyfoundations.org/voices/active-citizenship-can-change-your-country-better
PWC. (2013). PwC’s NextGen: A global generational study. [Online] Assess At http://www.pwc.com/en _GX/gx/hr-management-services/pdf/pwc-nextgen-study-2013.pdf.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd.ed). NY: Harper and Row Publication.