การพัฒนาสมรรถนะในครูด้านภาวะผู้นำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ ศึกษาลักษณะและพฤติกรรมสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ สร้างคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำเพื่อทดลองเครื่องมือมุ่งเน้นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาครูในสถานศึกษาจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง คือ 1) จากเอกสารงานวิจัย และ2) จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูสอนดีที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การประเมินของคุรุสภา จำนวน 100 คน ที่ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling ) โดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาคู่มือการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ ตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันคู่มือตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน ระยะที่ 3 การทดลองใช้คู่มือการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ โดยเลือกครูสอนดีเป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่ต้องการพัฒนา จำนวน 30 คน โดยการประเมินก่อนและหลังการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครูประกอบด้วย 5 ด้าน วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครู, การสนทนาอย่างสร้างสรรค์, การเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง, การปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง, การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน 2) ลักษณะและพฤติกรรมของครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครูพบว่า ครูส่วนมากเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65 ตำแหน่งงานเป็นครูวิชาการมากที่สุด (ร้อยละ 73 ) วุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 81) ประสบการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมากกว่า 10 ปี (ร้อยละ 83) และอยู่ในสถานศึกษาขนาดกลางมีนักเรียนระหว่าง 121 – 300 คน (ร้อยละ 84)ลักษณะและพฤติกรรมครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับ การประเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครูพบว่า ลักษณะและพฤติกรรมครู เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง(
= 4.67) รองลงมาคือ ด้านวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครูแสดงออกกับผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับความเป็นครู (
= 4.53) ส่วนด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน อยู่ในระดับปานกลาง (
= 3.47) 3) สร้างและพัฒนาคู่มือการพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครูองค์ประกอบด้วย ความเป็นมาจุดประสงค์การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำครู ระยะเวลาในการพัฒนาตารางพัฒนาตามหลักสูตรหลักสูตรการพัฒนาครู วิธีการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการพัฒนาการประเมินผลการพัฒนาโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ ให้การยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 4) พัฒนาครูภาวะผู้ครูด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้ง 3 ระยะ การดำเนินการในขั้นกระบวนการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะก่อนปฏิบัติการ ระยะที่ 2 ระยะที่ 2 ประชุมปฏิบัติการ และระยะที่ 3 ระยะหลังปฏิบัติการ โดยการประชุมและใช้แบบสอบถามพฤติกรรมครูในสถานศึกษา ผลจากแบบสอบพบว่า หลังปฏิบัติการค่าเฉลี่ยของประเมินครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครู สูงกว่าก่อนการเข้าพัฒนา
Article Details
References
กษมา วรวรรณ ณ อยุทธยา. (2550). การประกันคุณภาพการศึกษา. การปฏิรูปการศึกษา.
จินตนา ศรีสารคาม. (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น :
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมใจ อุดมศรี. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้การกระจายอำนาจการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศุภกานต์ ประเสริฐรัตนะ. (2555) . โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบการกระจายอำนาจของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบการกระจายอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย
เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).
พิษณุโลก : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554 ). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
มนชัย พินิจจิตรสมุทร. (2548). Dialogue เพื่อการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ For Quality .11(89).
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ .กรุงเทพฯ.ธรธัชการพิมพ์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).
นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิโรจน์ สารัตนะ. (2548). ผู้บริหารโรงเรียน :สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ศศิกานต์ เจริญดี. (2544). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา.วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (การบริหารการศึกษา).
ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ :ทฤษฎีการปฏิบัติ :ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ : วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.
สมคิด อิสระวัฒน์. (2543). การสอนผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร.จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2547). จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร.ด่านสุธาการพิมพ์.
เสกสรร มธุลาภรังสรรค์สุคนธ์ สินธพานนท์ วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และพรรณี สินธพานนท์ โสฬส ศิริไส. (2551). พัฒนาทักษะ
การคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : หจก. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). นโยบายยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบครูทั้งระบบ.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง).สำนักงานพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการวิจัย สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง.
กรุงเทพฯ: สกค.
อุษาวดี จันทรสนธิ. (2550). ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.ปีที่ 1 (2), ธันวาคม – พฤษภาคม 2550.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Acker- Hocevar and Touchton. (1999). A model of power as social relationships : Teacher leaders describe the phenomena of effective agency in practice. Paper presented
at the annual meeting of the American Educational Research Association, Montreal, Quebec, Canada.
Boles, K. & Troen, V. (1992). How teachers make restructuring happen. Educational Leadership, 49 (5), 53-56.
Childs-Bowen and Scrivner . (2000). Principals: Leaders of Leaders. NASSP Bulletin, 84(616), 27-34.
Fullan. (1994 ). Change Forces: Probing the Depths of Educational Reform. London : Falmer Press: 16-20.
Katzenmeyer and Moller. (2001). Awakening the Sleeping Giant: Helping Teacher Develop as Leaders. 2nd ed.
Thousand Oaks, CA: Corwin.
Leithwood and Duke. (1999). A century’s quest to understand school leadership. In K.S. :73
Pellicer and Anderson.(1995). A handbook for teacher leaders. Thousand Oaks, CA : Corwin Press.: 9-11.
Sherrill, J. (1999). Preparing teachers for leadership roles in the 21st century. Theory intoPractice,38(1), 56–61.
Snell and Swanson .(2000). The Essential Knowledge and Skills of Teacher Leaders: A Search for a Conceptual
Framework. Paper presented at the Annual Meeting of the American Education Research Association, New
Orleans, L.A.:77