การสำรวจและศึกษาข้อมูลพื้นฐานของประเทศบรูไนดารุสสลาม: ด้านมิติทางการต่างประเทศ

Main Article Content

ปิยธิดา โคกโพธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสำรวจข้อมูลพื้นฐานของประเทศบรูไนในมิติทางการต่างประเทศ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน (ค.ศ.2014) ของบรูไน และเพื่อศึกษาวิจัย วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่อไปในอนาคตของบรูไนหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยใช้กรอบการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ( SWOT analysis) ในการวิเคราะห์ปัจจัยซึ่งมีผลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของบรูไน ผลการศึกษาพบว่า ในมิติด้านการต่างประเทศของบรูไน มี จุดแข็ง (Strengths) ได้แก่ บรูไนมีความเข้มแข็งจากการนโยบายด้านการต่างประเทศที่เน้นการสร้างความร่วมมือ การส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติ การสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพและความรุ่งเรืองในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยจุดอ่อน (Weaknesses) ได้แก่ ในแนวนโยบายต่างประเทศที่ส่งเสริมธุรกิจระหว่างประเทศนั้นบรูไนเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีประชากรน้อย ทำให้ตลาดการค้าของบรูไนเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนยังไม่ดึงดูดนักลงทุนมากนัก และบรูไนมีกฎหมายเฉพาะการสร้างความร่วมมือทางด้านธุรกิจผู้ที่จะเข้าไปลงทุนในบรูไนผู้ที่สนใจเข้าไปลงทุนต้องศึกษาข้อปฏิบัติให้เคร่งครัดก่อนเข้าไปลงทุน โอกาส (Opportunities) ได้แก่ มีการเสริมสร้างความมั่นคงภายในและการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ การรวมกลุ่มทั้งด้าน เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศตลอดจนมีบทบาทในระดับนานาชาติ โดยสุลต่านเป็นผู้ดำเนินงานเองทำให้เกิดความเชื่อมั่นของประเทศต่อนานาชาติซึ่งเป็นการสร้างโอกาสจากการวางนโยบายการต่างประเทศในเวทีระดับโลก ทั้งนี้มีอุปสรรค (Threats) ได้แก่ การมีกฎหมายที่ยังไม่สอดคล้องกับการวางยุทธศาสตร์ประเทศในระหว่างการจัดทำกฎหมายบางประเภทให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กฎหมายแรงงาน ที่ปัจจุบันบรูไนกำลังปรับปรุงตามกฎของการรวมกลุ่มระหว่างประเทศเพื่อให้มีมาตรฐานในการทำงานและการยอมรับจากต่างชาติต่อมาตรฐานการทำงานในบรูไนซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศและเป็นสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศให้ความสำคัญในเรื่องแรงงานระหว่างประเทศซึ่งนโยบายต่างประเทศของบรูไนยังไม่ได้กล่าวถึงมากนัก จากแนวนโยบายต่างประเทศที่เป็นกลางตลอดจนนโยบายต่างประเทศของบรูไนเน้นนโยบายกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ ทำให้บรูไนมีความเป็นสากลและสร้างพันธมิตรจากหลักการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ก่อให้เกิดผลดีต่อบรูไนโดยตรงและส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคงในประเทศต่อไปในอนาคต รวมถึงแนวนโยบายระหว่างประเทศด้านการเมืองและความมั่นคงและการส่งเสริมความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศที่ประเทศบรูไนเข้าร่วมเป็นสมาชิก รวมถึงการเน้นสร้างความสงบและการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศโดยมีมิติด้านการต่างประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้ประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองและการก้าวไปสู่เวทีโลกได้อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
โคกโพธิ์ ป. (2018). การสำรวจและศึกษาข้อมูลพื้นฐานของประเทศบรูไนดารุสสลาม: ด้านมิติทางการต่างประเทศ. Journal of Politics and Governance, 8(1), 246–258. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/123294
บท
บทความวิจัย