การนำพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ไปปฏิบัติ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ

Main Article Content

ธันยพร พงศ์กระพันธุ์
สุนิสา ช่อแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาการนำพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551ไปปฏิบัติ โดยเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจในการดำเนินคดีผู้บริโภค แต่ผลของการนำไปปฏิบัติพบว่า ยังมีปัญหาข้อขัดข้องบางประการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนำไปพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปปฏิบัติไม่สามารถบรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนำพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ไปปฏิบัติ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ เพื่อให้การนำพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปปฏิบัติบรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้เอื้อประโยชน์ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงกระบวนการพิจารณาคดีได้ง่าย สะดวก และประหยัดยิ่งขึ้น เนื่องจากบทบัญญัติในหลายมาตราได้เอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตาม ผลของงานวิจัยพบว่าการนำพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปปฏิบัติ ยังมีข้อขัดข้องบางประการ อันเนื่องมาจากการนิยามความหมายของคดีผู้บริโภคที่ทำให้ปริมาณคดีผู้บริโภคมีมากเกินความจำเป็น โครงสร้างองค์กรที่ไม่เหมาะสมกับกระบวนการดำเนินคดีผู้บริโภค และข้อขัดข้องในเชิงปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงาน จึงทำให้ผลของการนำพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปปฏิบัติยังไม่บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมาย

Article Details

How to Cite
พงศ์กระพันธุ์ ธ., & ช่อแก้ว ส. (2018). การนำพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ไปปฏิบัติ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ. Journal of Politics and Governance, 8(1), 177–190. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/123286
บท
บทความวิจัย